ขออนุญาติแจ้งข่าวนะครับ ขณะนี้ผมเรียนจบปริญญาเอกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ผมทำงานอยู่ในประเทศไทยแล้วครับ โดยตอนนี้ผมได้โครงการ การสำรวจฟาร์มกระต่ายเนื้อในประเทศไทย ซึ่งขอความอนุเคราะห์ดังต่อไปนี้ครับ
1. ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกระต่ายเนื้อ หรือมีข้อมูลของผู้เพาะเลี้ยงกระต่ายเนื้อ รบกวนส่งเบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลการติดต่อมาที่ attawitthai@gmail.com ซึ่งผมจะติดต่อกลับไป โดยโครงการมีความประสงค์ดังต่อไปนี้
1.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการผลิตกระต่ายเนื้อในประเทศไทย
1.2 ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตกระต่ายเนื้อ เพื่อนำมาพัฒนาด้วยงานวิจัย รวมทั้งนำเสนอเป็นนโยบายเพื่อให้ทางรัฐบาลทราบและสามารถดำเนินนโยบายสนับสนุนการเพาะเลี้ยงกระต่ายเนื้อต่อไป
1.3 ตั้งกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงกระต่ายเนื้อเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาการเพาะเลี้ยง
โดยข้อมูลทั้งหมดจะเป็นความลับ การเปิดเผยต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของฟาร์มเท่านั้น
ถ้ามีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อได้เสมอครับ
โครงการมีระยะเวลาตั้งแต่ 11/8/60 - 10/8/61 (1ปี) นะครับ แต่อย่างไรก็ตามผมยังดำเนินการวิจัยและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงกระต่ายเนื้อต่อไปครับ
ขอบพระคุณมากครับ
อรรถวิทย์ โกวิทวที
กระต่าย (Rabbit Knowledge)
การดูแลกระต่ายระดับฟาร์ม l ความรู้เรื่องกระต่ายโดยทั่วไป
วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558
เสนอหัวข้อ และคำถาม
สวัสดีครับ ตอนนี้ผมค่อนข้างมีงานวิจัยเข้ามาพอสมควรครับ ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเขียนหัวข้อใหม่ๆเลย แต่ถ้ามีคำถามหรือข้อเสนอแนะสามารถติดต่อมาที่ attawitthai@gmail.com ได้นะครับ จะพยายามตอบคำถามให้ครับ
โดยถ้ามีเรื่อง หรือหัวข้ออะไรเป็นที่น่าสนใจ สามารถเสนอแนะได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านสัตวบาล หรือสัตวแพทย์ ผมจะพยายามหาข้อมูลและเขียนบทความให้ครับ
ด้วยความเคารพ
อรรถวิทย์ โกวิทวที
โดยถ้ามีเรื่อง หรือหัวข้ออะไรเป็นที่น่าสนใจ สามารถเสนอแนะได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านสัตวบาล หรือสัตวแพทย์ ผมจะพยายามหาข้อมูลและเขียนบทความให้ครับ
ด้วยความเคารพ
อรรถวิทย์ โกวิทวที
วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตในแม่พันธุ์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตในแม่พันธุ์
Main factors affecting on the
reproductive performances in does
บทความนี้ได้เขียนขึ้นจากการรวบรวมบทความวิชาการ
ประสบการณ์ สัมภาษณ์นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว
และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผมหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อย
ถ้ามีข้อซักถามหรือข้อเสนอแนะประการใดสามารถติดต่อมาได้ที่ attawitthai@gmail.com
สำหรับข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
น.สพ.อรรถวิทย์ โกวิทวที
นิสิตปริญญาเอกสาขาการเพาะพันธุ์กระต่าย มหาวิทยาลัยตูริน
ประเทศอิตาลี
|
1.
|
บทนำ
|
The
introduction
|
หนึ่งส่วนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของชุดผสมคือ
แม่พันธุ์ (Reproductive doe) เนื่องจากแม่พันธุ์ที่ดีย่อมให้ผลผลิต
จำนวนลูกต่อคอก น้ำหนักอย่านมของลูกกระต่ายที่มากขึ้น โดยส่งผลให้อัตราการโตต่อวัน
(Average daily weight gain: ADG) สูงขึ้น และทำให้กระต่ายขุนสามารถได้น้ำหนักเข้าฆ่า
(Slaughter weight: SW) เร็วขึ้น โดยจากผลดังกล่าวจะทำให้ฟาร์มได้กำไรเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
อัตราการผสมติด (Fertility
rate) นั้นเป็นดัชนีหนึ่งที่มีความสำคัญ
และบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์ม โดยปกติแล้วในฟาร์มกระต่ายในประเทศฝรั่งเศสมีอัตราการผสมติดประมาณร้อยละ
77 โดยวิธีการเตรียมแม่ก่อนเข้าผสมนั้นก็มีวิธีที่แตกต่างกันไป
ดังเช่น การใช้ฮอร์โมน การจัดการด้านอาหาร และการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่จะใช้สองวิธีร่วมกัน
15 ปีที่ผ่านมาการผลิตกระต่ายได้รับการศึกษา และพัฒนาเป็นอย่างมาก
ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการผลิตที่มากขึ้น มีความสม่ำเสมอ โดยในฟาร์มขนาดใหญ่จะใช้การผสมเทียมทั้งสิ้น
เนื่องจากง่ายต่อการจัดการ การพัฒนาสายพันธุ์ และลดต้นทุนในการเลี้ยงพ่อพันธุ์ อย่างไรก็ตามการผลิตที่หนาแน่น
(Intensive farming system) จะขัดต่อสรีรวิทยาโดยธรรมชาติของกระต่ายซึ่งส่งผลให้มีปัญหาเกิดขึ้น
ดังเช่น แม่พันธุ์อยู่ในชุดผสมได้ไม่นาน อัตราป่วยตายสูง อัตราการคัดทิ้งสูง (Culling
rate) และอัตราผสมติดต่ำ โดยฟาร์มกระต่ายแบบหนาแน่นจะมีอัตราทดแทนแม่อยู่ที่ร้อยละ
80-150 ต่อปี หรือแม่หนึ่งตัวสามารถให้ลูกได้เพียง 4.7
คอกเท่านั้น
ดังนั้นวิธีการที่ทำให้แม่สามารถอยู่ในชุดผสมได้นานขึ้นจึงได้รับการศึกษาเนื่องจากต้นทุนของแม่ทดแทนมีราคาที่สูง
เพราะต้องเลี้ยงแม่สาวให้มีอายุประมาณ 3-4 เดือนถึงจะเริ่มเข้าชุดผสมได้โดยไม่มีการให้ผลผลิตเลย
การประสบความสำเร็จในการผสม หรือการให้แม่กระต่ายตั้งท้องนั้นขึ้นอยู่กับสามปัจจัยหลักคือ
แม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ และผู้ผสม ในบทความนี้จะกล่าวถึงแม่พันธุ์ และผู้ผสม
(การจัดการ) การแสดงอาการเป็นสัดมักถูกใช้เพื่อหาเวลาผสม และมีความเกี่ยวข้องกับระยะไข่ตก
(Ovulation)
แต่การสังเกตการเป็นสัดในกระต่ายไม่ชัดเจนเหมือนในสัตว์ชนิดอื่น โดยเราสามารถสังเกตจากสี
และความเต่งของอวัยวะเพศภายนอก
หรือการใส่ตัวผู้เข้าไปเพื่อดูว่าแม่กระต่ายยอมรับการผสมหรือไม่ (Sexual
receptivity) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในการทดลอง
โดยการทดลองและข้อมูลที่นำเสนอในรายงานนี้จะเป็นการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อรวมทั้งหมด
(Pooled semen คือการนำน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์หลายตัวมาผสมกับ
จากนั้นจึงนำไปผสมกับแม่กระต่าย ซึ่งเป็นวิธีที่ทำปกติในฟาร์มกระต่าย) โดยแม่กระต่ายจะถูกเหนี่ยวนำด้วยฮอร์โมนเพื่อให้เป็นสัดในวันเดียวกัน
ซึ่งก็เป็นวิธีปกติในฟาร์มกระต่ายเช่นกัน
2.
|
พื้นฐานสรีรวิทยาสืบพันธุ์ในแม่กระต่าย
|
Basic
physiology in reproductive doe
|
ระบบสืบพันธุ์นั้นทำงานภายใต้ฮอร์โมนจากระบบต่อมไร้ท่อที่ควบคุมจากระบบประสาท
(Neuro-endocrine axis) ซึ่งการทำงานของระบบประสาทนั้นถูกกระตุ้นให้ตอบสนองจากหลายปัจจัยคือ
สายพันธุ์ อาหาร การจัดการ และสิ่งแวดล้อม การตกไข่ (Ovulation) ของกระต่ายมีความแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น
โดยการตกไข่ของกระต่ายจะเป็นแบบ Induce ovulation หรือเหนี่ยวนำโดยการผสมพันธุ์
(Coitus) ดังนั้นกระต่ายจึงสามารถตกไข่ และตั้งท้องได้แม้แต่ในช่วงที่ไม่ยอมรับการผสมพันธุ์
แต่อัตราผสมติด และปริมาณของลูกไม่ดีเท่ากับการผสมในแม่ที่ยอมรับการผสม
วิธีผสมเทียมเป็นวิธีที่ใช้ในฟาร์มกระต่ายขนาดใหญ่เป็นหลัก โดยจะมีการเหนี่ยวนำให้กระต่ายเป็นสัดพร้อมกันด้วยการใช้ฮอร์โมน
หรือวิธีอื่น (โดยรายละเอียดในบทความต่อไปเกี่ยวกับการทำให้กระต่ายทั้งฟาร์มเป็นสัดพร้อมกันในวันที่กำหนด)
การผสมกระต่ายให้เร็วที่สุดหลังคลอดก็ส่งผลให้ฟาร์มมีผลผลิตที่มากขึ้น สรีรวิทยาของกระต่ายมีความแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น
โดยระดับ estrogen หรือฮอร์โมนที่เหนี่ยวนำให้กระต่ายยอมรับการผสมจะมีระดับสูงในวันที่
1, 5-7 และมากกว่า 23 หลังคลอด
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวกระต่ายอาจถูกผสมซ้ำเพื่อให้ท้องสำหรับคอกถัดไปในธรรมชาติ
จากสาเหตุดังกล่าวฟาร์มจึงใช้ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัด และผสมได้ในช่วงวันที่เหมาะสม
ฟาร์มกระต่ายโดยทั่วไปจะผสมที่ 11 หรือ 18 วันหลังคลอด ดังนั้นรอบผลิตก็จะเป็น 42 และ 49
วันตามลำดับ (แม่กระต่ายท้อง 31 วัน)
ภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงมีการศึกษาถึงหลายปัจจัยเพื่อที่จะบ่งชี้ว่าปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการกลไกดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกลไกนี้ก็สามารถทำให้เราสามารถควบคุม หรือปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเพื่อให้กระต่ายกลับเข้าสู่ภาวะได้ดุลพลังงานเร็วที่สุด เพื่อให้มีผลผลิตสูงสุดอย่างที่เราต้องการนั่นเอง
2.
|
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต
|
Effective
factors to reproductive effeciency
|
2.1 ลำดับท้อง (Parity
order)
ลำดับท้องมีความสำคัญต่อสรีรวิทยาของกระต่ายในแต่ละรอบการผลิต
โดยในกระต่ายจะแบ่งกลุ่มของลำดับท้องเป็นสามแบบคือ 1. แม่สาว
(แม่ที่ไม่เคยได้รับการผสมมาก่อน หรือเรียกว่าการผสมครั้งแรก,
Nulliparous does) 2. แม่ผสมครั้งที่สองในลำดับท้องที่สอง (Primiparous
doe) 3. แม่ผสมครั้งที่สามเป็นต้นไป (Multiparous doe) ในทั้งสามกลุ่มของลำดับท้องนี้ พบว่า Primiparous doe เป็นแม่ที่ต้องเผชิญหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด
เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นครั้งแรกของชีวิตที่แม่กระต่ายจะอยู่ในภาวะขาดดุลพลังงานจากการที่ให้นมลูกครั้งแรก
และถูกผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตในรอบถัดไป
ทำให้ร่างการต้องมีการเคลื่อนย้ายพลังงานสะสมมาใช้งาน ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตในแม่กลุ่มนี้ค่อนข้างจะต่ำกว่าแม่กลุ่มอื่น
แต่เมื่อแม่ได้ผ่านภาวะดังกล่าวในรอบถัดไป หรือเมื่อมาเป็น Multiparous doe
ผลผลิตก็จะกลับมาปกติเช่นเดิม
จากการทดลองพบว่าลำดับท้องมีผลกระทบต่อผลผลิตอย่างชัดเจน
โดยอัตราการผสมติดใน Nulliparous does
จะมีค่าอยู่ที่ร้อยละ 70 แต่จำนวนลูกมีชีวิตต่อคอกค่อนข้างต่ำที่ประมาณ
8.8 ตัวต่อคอกสำหรับอัตราผสมติดใน Primiparous doe จะน้อยกว่าร้อยละ 70 แต่มีจำนวนลูกต่อคอกมากกว่า Nulliparous
doe โดยสาเหตุของอัตราการผสมติดที่ลดลงเป็นเนื่องมาจาก
แม่กระต่ายได้เผชิญกับภาวะไม่สมดุลกับพลังงานเป็นครั้งแรก
โดยแม่กระต่ายได้สูญเสียพลังงานจากการให้นม โดยยังต้องจัดการพลังงานเพื่อให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานให้ดีเพื่อรับการผสมในคอกถัดไป
โดยกระต่ายในกลุ่มดังกล่าวจะเสียดุลพลังงานในช่วงที่มากที่สุดประมาณร้อยละ 28 สำหรับ Multiparous doe จะมีอัตราการผสมติดมากกว่าร้อยละ
78.6 และจำนวนลูก 11.2 ตัวต่อคอก
ดังนั้น Nulliparous
does อัตราผสมติดีแต่จำนวนลูกต่อคอกต่ำ Primiparous doe อัตราผสมติดต่ำมีลูกต่อคอกมากกว่า Nulliparous does
เล็กน้อย และประสิทธิภาพการผลิตทั้งในด้านอัตราผสมติด และจำนวนลูกต่อคอกจะดีที่สุดในแม่ที่มีลำดับท้องมากกว่าสองเป็นต้นไป
(Multiparous doe)
2.2
รอบการผลิต (Reproductive cycle)
หรือวันที่ผสมหลังคลอด (Back breed)
รอบการผลิตถูกกำหนดโดยการผสมหลังคลอดว่าจะทำภายในเวลากี่วัน
ระยะเวลาของรอบการผลิตจะคำนวณจากระยะเวลาที่แม่ท้อง (31 วัน)
ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้บวกกับระยะเวลาจากวันคลอดถึงวันผสม (Back
breed) โดยปกติแล้วรอบการผลิตจะอยู่ที่ 42 หรือ
49 วัน การผสมในกระต่ายจะทำในขณะที่แม่ยังให้นมอยู่ ปริมาณของน้ำนมที่ผลิตมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพลังงานที่สูญเสียไปหรือเหนี่ยวนำให้แม่อยู่ในภาวะเสียดุลพลังงานนั่นเอง
ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ในรอบผสมต่อไป ปริมาณนมที่แม่ผลิตจากเพิ่มขึ้นตามอายุลูก
โดยจะผลิตมากที่สุดในวันที่ 18-20 หลังคลอด (Peak of
lactation) ดังนั้นวันที่ผสมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่ออัตราผสมติด
จากความรู้ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าการเลื่อนเวลาการผสมซ้ำให้นานออกไปก็จะทำให้แม่กระต่ายมีเวลาที่จะฟื้นฟูพลังงานสะสม
ดังนั้นการผสมซ้ำที่นานกว่าย่อมจะให้แม่ที่มีผลผลิตที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตามการผสมซ้ำช้าก็จะทำให้จำนวนคอกต่อแม่ต่อปีลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นฟาร์มต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสีย
และเลือกเวลาผสมกลับที่เหมาะสมของแต่ละฟาร์ม
การยอมรับการผสม (Receptivity)
ในแม่ที่ไม่ให้นม หรือไม่ท้องนั้นจะสูงกว่าในแม่ที่ให้นม (Lactating
doe) โดยแม่ที่ลูกมากก็จะมีอัตราการปฎิเสธการผสมสูงกว่าแม่ที่มีลูกจำนวนน้อยกว่า
แม่จะยอมรับการผสมร้อยละ 90 ในวันที่คลอดลูก
และลดลงเป็นร้อยละ 47.2-54.2 หลังจากคลอด 4 วัน
หลังจากนั้นก็จะเพิ่มขึ้นในวันที่ 11 หลังคลอดเป็นร้อยละ
88.7 แล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับและสูงสุดในวันหย่านม
โดยวันหย่านมที่แตกต่างกันก็ส่งผลให้การยอมรับการผสมแตกต่างกันด้วย (รูปที่ 2)
อัตราการผสมติด (Fertility
rate) จะสูงกว่าในกระต่ายที่ไม่ให้นม (ร้อยละ 91.5) เมื่อเทียบกับกระต่ายที่ให้นม (ร้อยละ 68) เนื่องจากการให้นมนั้นส่งผลให้ความสามารถในการตกไข่ลดลง (Ovulation)
ถึงจะมีการให้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นแล้วก็ตาม
อัตราการผสมติดในแม่ที่ผสมหลังคลอดที่ 3-4 วัน (ร้อยละ 39.9-50.7) น้อยกว่าในแม่ที่ผสมหลังคลอดที่ 10-11
วัน (ร้อยละ 70.7-78.5) มากไปกว่านั้นความล้มเหลวจากการผสมติดแต่ไม่สามารถตั้งท้อง
(Pregnacy failure) พบสูงในแม่ที่ผสมหลังคลอด 4 วันที่ร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับแม่ที่ผสมหลังคลอด 11
วันที่ร้อยละ 11.7 (รูปที่ 2)
ในอีกการทดลองก็สอดคล้องกัน รูปที่ 4 พบว่าพบว่าอัตราผสมติด จำนวนลูกต่อคอก และจำนวนลูกตายแรกเกิด (Still
born) ของแม่ที่ผสมหลังคลอด 11 วัน นั้นแย่กว่าในแม่ที่ผสมที่
32 วันหลังคลอด อย่างไรก็ตามการที่เราผสมแม่กระต่ายช้าลงก็ย่อมทำให้จำนวนลูกกระต่ายที่ผลิตได้ลดลงด้วย
เนื่องจากรอบการผลิตลดลง ถ้าทำข้อมูลจากการทดลองนี้แล้วคำนวณแบบเต็มปีในฟาร์มที่มีแม่
100 ตัว โดยคาดว่าผลผลิตสม่ำเสมอดังนี้ อัตราผสมติดที่ร้อยละ
45.1 และลูกรอดต่อคอกอยู่ที่ 7.3 ตัวในการผลิตแม่กระต่ายด้วยรอบ
42 วัน เปรียบเทียบกับอัตราผสมติดที่ร้อยละ 85.2 และลูกรอดต่อคอกอยู่ที่ 11.2 ตัวในการผลิตแม่กระต่ายด้วยรอบ
63 วัน จากการคำนวณจะพบว่ารอบการผลิต 42 และ 63 วันสามารถให้ลูกต่อปีอยู่ที่ 2,861 และ 5,528 ตัวตามลำดับ
เนื่องด้วยอัตราการผสมติดที่สูง อัตราการตายแรกเกิดที่ต่ำจึงจำนวนลูกต่อคอกระหว่างสองรอบการผลิตต่างกันเป็นอย่างมากโดยการศึกษาดังกล่าวศึกษาในแม่ท้องแรก (Primiparous doe) ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหามากที่สุด
เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการศึกษาในลักษณะดังกล่าวในแม่ท้องมากกว่าท้องสอง (Multiparous
doe) เพราะเมื่อแม่เข้าสู่ Multiparous แล้วแม่ที่อยู่ในรอบการผลิตที่สั้นก็สามารถให้ผลผลิตที่สูง
และมีปัญหาน้อยลงมา ดังนั้นการคำนวณแบบหยาบดังกล่าวจึงไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามการเลื่อนเวลาผสมออกไปในการผสมครั้งที่สองอาจจะเป็นเทคนิคที่ช่วยให้
Primiparous doe มีผลผลิตที่ดีได้
2.3
การยอมรับการผสม (Sexual receptivity)
การผสมเทียมเป็นวิธีที่สามารถบังคับกระต่ายที่ไม่ยอมรับการผสมให้ผสมได้
โดยการผสมจริงจะไม่สามารถทำได้เนื่องจากแม่จะไม่ยอมรับการผสม การสังเกตจากสี
และความบวมของอวัยวะเพศภายนอก (Vulva) หรือการใช้พ่อพันธุ์เข้าผสมเป็นวิธีการตรวจสอบว่าแม่พันธุ์นั้นยอมรับการผสมหรือไม่
ซึ่งการที่กระต่ายยอมรับการผสมพันธุ์อาจเรียกช่วงดังกล่าวได้ว่า การเป็นสัด
แต่การเป็นสัด และการตกไข่ของกระต่ายไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดในบทความต่อไป
อัตราการผสมติด (Fertility
rate) ในกระต่ายมียอมรับการผสมอยู่ที่ร้อยละ 75 ในขณะที่การผสมกระต่ายในแม่ที่ไม่ยอมรับการผสมมีโอกาสผสมติดอยู่ที่ร้อยละ 25-55
โดยสาเหตุนั้นเป็นมาจากการที่ไข่ไม่ตก (Ovulation) หรือมีการผสมแล้วแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ (Pregnancy failure) โดยทั้งสองปัญหานี้ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่มีความสัมพันธ์กับลำดับท้อง (Parity)
โดยจะมีโอกาสพบปัญหาดังกล่าวใน Primiparous doe มากกว่า Multiparous doe ที่ร้อยละ 8 และ 0 ตามลำดับ
การผสมในแม่ที่ยอมรับการผสมจะให้จำนวนลูกต่อคอกมากกว่าการผสมในแม่ที่ไม่ยอมรับการผสมประมาณ
1-2
ตัว เนื่องจากในแม่ที่ยอมรับการผสมจะมีปริมาณที่ไข่ตกลงมาประมาณ 11
ใบ ในขณะที่แม่ที่ไม่ยอมรับการผสมจะมีไข่เพียง 8.7 ใบ โดยจะมีโอกาสที่ไข่ที่ตกลงมาแล้วได้รับการผสมในแม่ที่ยอมรับการผสมอยู่ที่ร้อยละ
84.1 โดยในแม่ที่ไม่ยอมรับการผสมโอกาสสำเร็จเพียงร้อยละ
44.1 มากไปกว่านั้นยังมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะรอดชีวิตมากกว่าประมาณ 2.5
ตัว (Embyro survival) ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้จึงทำให้จำนวนลูกต่อคอกในแม่ที่ยอมรับการผสมมีจำนวนมากกว่าในแม่ที่ไม่ยอมรับการผสม
2.4
Physiological state
ลำดับท้อง
แม่ให้นมหรือไม่ และการยอมรับการผสม มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตในแม่พันธุ์อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น
Physiological
state เป็นดัชนีที่เกิดจากการรวมสองปัจจัยซึ่งคือ แม่ให้นมหรือไม่
และการยอมรับการผสม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสองปัจจัยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร (รูปที่ 5 และ 6)
อัตราการผสมติด (Fertility
rate) ในแม่ที่ให้นมและไม่ยอมรับการผสมทำให้อัตราการผสมติดต่ำกว่าร้อยละ
45 ในกลุ่มอื่นสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างไรก็มีความแตกต่างกันระหว่างระยะให้นม
โดยจะแย่ที่สุดที่การผสมแม่ที่ให้นม ไม่ยอมรับผสม ในวันที่ 4 โดยมีอัตราผสมติดเพียงร้อยละ 16.2 จำนวนลูกต่อคอกที่น้อยที่สุดก็พบในแม่ที่ให้นมและ
ไม่ยอมรับผสมโดยให้ประมาณ 8.2 ตัวต่อคอก
ในขณะที่แม่กลุ่มอื่นให้ประมาณ 9.8 ตัวต่อคอก
เมื่อผสมหลังคลอด 11 วัน สำหรับการผสมหลังคลอด 4 วัน ในแม่กลุ่มดังกล่าวจะให้ลูกต่อคอกเพียง 4.6 ตัว
ในขณะที่แม่กลุ่มอื่นให้ 8.1 ตัว มากไปกว่านั้นการผสม 4
วันหรือ 11 วันหลังคลอดส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตมาก
โดยในแม่แต่ละกลุ่มพบว่าการผสมใน 4 วันหลังคลอดทำให้จำนวนลูกอย่านมต่อคอกมีปริมาณน้อยกว่าการผสมใน
11 วันหลังคลอดเกือบสองเท่า
2.5
พลังงานสะสม (Body reserve)
อย่างที่ได้กล่าวในข้างต้น
พลังงานสะสมในร่างกายไม่ว่าในรูปของไกลโคเจน หรือไขมัน
นั้นมีความจำเป็นเนื่องจากแม่กระต่ายต้องเผชิญกับภาวะขาดสมดุลพลังงานโดยไม่สามารถกินอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการพลังงานได้
ดังนั้นแม่ที่มีพลังงานสะสมเพียงพอก็จะมีสุขภาพที่ดี ไม่เสียคะแนนร่างกายมาก
และเข้าสู่รอบผสมต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในวันผสมของฟาร์มทั่วไปมักพบว่าร้อยละ
71.2 จะเป็นแม่กระต่ายที่มีคะแนนร่างกายที่ไม่เหมาะสม โดยมีแม่ที่มีร่างกายเหมาะสมเพียงร้อยละ
29.8 เท่านั้น (รูปที่ 7) ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การคัดทิ้งแม่ในฟาร์มทั่วไปสูงถึงร้อยละ 150 ต่อปี มากไปกว่านั้นแม่กระต่ายที่อ้วนหรือผอมเกินไปจะไม่ยอมรับการผสม
ส่งผลให้อัตราผสมติดที่ต่ำเมื่อเทียบกับแม่ที่มีคะแนนร่างกายที่เหมาะสม (รูปที่ 8)
การคัดเลือกทางพันธุกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของแต่ละฟาร์ม
วิธีที่ได้รับความนิยมคือ การเลือกลูกจากแม่ที่ให้จำนวนลูกต่อคอกมากมาเป็นแม่พันธุ์
(สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ การเลือกกระต่ายทดแทน http://rabbitknow.blogspot.com/2013/11/blog-post_28.html)
พันธุกรรมที่สามารถให้ลูกจำนวนมากไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ถ้าเราให้อาหารมีคุณภาพ
และปริมาณไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันยังไม่มีอาหารที่สามารถชดเชยภาวะขาดดุลพลังงานได้ทั้งหมด
เนื่องจากแม่ที่ให้ลูกมาก (10 ตัว) ก็จะให้นมในปริมาณมาก สูญเสียพลังงานมาก
อยู่ในภาวะขาดสมดุลพลังงานที่นาน และรุนแรงกว่าแม่ที่มีลูกน้อย (5 ตัว) จากรูปที่ 9 แสดงให้เราเห็นว่าแม่ทุกตัวจะอยู่ในภาวะขาดสมดุลพลังงานในช่วงแรกของการให้นม
แต่ในแม่ที่ให้นมมากจะคงอยู่ในภาวะขาดสมดุลในช่วงเวลาที่นานมาก
ในขณะที่แม่ที่มีลูกน้อยสามารถกลับสู่ภาวะที่ได้ดุลพลังงานอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ทำให้เรามักจะพบว่าแม่ที่มีลูกจำนวนมากจะสูญเสียคะแนนร่างกายมาก
หรือผอมลง กว่าแม่ที่มีลูกน้อยนั่นเอง
จากการศึกษาพบว่าแม่ที่ให้ผลผลิตลูกมากนั้นมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายพลังงานสะสมมาใช้ได้ดีกว่าแม่ที่มีลูกน้อย
แต่แม่กลุ่มดังกล่าวจะกลับมาสู่ภาวะสมดุลพลังงาน และมีพลังงานสะสมในร่างกายที่เพียงพอต่อรอบการผสมต่อไปได้ช้ากว่า
ในฟาร์มขนาดใหญ่จะมีการกำหนดให้มีวันผสมเป็นวันเดียวกัน
ดังนั้นแม่กลุ่มดังกล่าวจะถูกผสมในภาวะที่มีพลังงานสะสมไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตในคอกต่อไปไม่ดี
หรือผสมไม่ติด ทำให้อัตราคัดทิ้งแม่พันธุ์เพิ่มมากขึ้น และไม่สามารถใช้แม่ได้นาน (Longevity)
ทั้งๆที่ Multiparous doe เป็นแม่ที่ควรเก็บไว้เนื่องจากมีอัตราผสมติด
และลูกต่อคอกที่สูงที่สุด ดังนั้นเทคนิคที่ให้อาหารพลังงาน หรือไขมันสูงเพื่อให้แม่ได้รับพลังงาน
และมีพลังงานสะสมเพียงพอในรอบการผสมต่อไปก็ได้ถูกใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
2.7
ท้องเทียม (Pseudopregnancy)
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลังจากไข่ตก
(Ovulation) จะมีการสร้าง Corpus luteum ที่รังไข่ โดยทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการตั้งท้อง
(Progesterone) จะมีระดับเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีที่กระต่ายตั้งท้องสมบูรณ์ฮอร์โมนนี้ก็จะอยู่ในระดับสูงจนคลอด
ในอีกกรณี ถ้าแม่มีการตกไข่แต่ไม่มีการตั้งท้อง Corpus luteum จะฝ่อลงส่งผลให้ระดับ Progesterone ต่ำลง แล้วทำให้กระต่ายกลับสู่รอบสัดอีกครั้งเพื่อรับการผสมครั้งต่อไป
แต่มีบางกรณีที่มีการตกไข่ ไม่ท้อง แต่ยังมี Corpus luteum ที่ยังทำงานอยู่ โดยเรียกภาวะดังกล่าวว่า ท้องเทียม
(Pseudopregnancy) ซึ่งภาวะดังกล่าวส่งผลให้แม่ไม่ยอมรับการผสม
และผสมติดยาก (โดยระบบสีบพันธ์กระต่ายผมจะกล่าวโดยละเอียดในบทความต่อไป)
ร้อยละ 20 ของแม่กระต่ายที่ไม่ท้องพบว่ายังมีการคงอยู่ของ Corpus luteum หรืออยู่ในภาวะท้องเทียม ซึ่งส่งผลให้อัตราการผสมติดต่ำ
กระต่ายมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกับสัตว์อื่นเกี่ยวกับ Corpus luteum โดยพบว่าร้อยละ 26.5 ของกระต่ายหลังจากการผสมภายใน 1 วัน พบว่ามี Corpus
luteum ถึงสองรุ่น โดย Corpus luteum รุ่นแรกเกิดจากมีการไข่ตกมากก่อนหน้าที่จะได้รับการผสม
และ Corpus luteum รุ่นที่สองเกิดหลังจากการตกไข่โดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน
เพื่อให้ไข่ตกในวันผสม โดยแม่ที่พบลักษณะดังกล่าวจะพบว่ายอมรับการผสมเพียงร้อยละ 22
และมีอัตราการผสมติดเพียงร้อยละ 3 ทั้งๆที่มีการตกไข่
มากไปกว่านั้นระดับ Progesterone ในแม่กลุ่มดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงมาก
(9.4 ng/mL) ดังนั้นถ้ามีแม่ท้องเทียมอยู่จำนวนมากในฟาร์มย่อมทำให้อัตราผสมติดในฟาร์มต่ำลง
และส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลงเช่นกัน
การตรวจระดับ Progesterone
ในกระแสเลือดเป็นดัชนีเบื้องต้นเพื่อบ่งชี้ภาวะท้องเทียมในแม่พันธุ์
ภาวะท้องเทียมที่มีระดับ Progesterone ในกระแสเลือดสูงกว่า 1
ng/mL พบใน Primiparous doe มากกว่า Nulliparous
doe และ Multiparous doe
โดยมีระดับ Progesterone ในกระแสเลือดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.1
1.9 และ 3.3 ng/mL ตามลำดับ โดยจะพบท้องเทียมใน
Nulliparous doe, Primiparous doe และ Multiparous doe อยู่ร้อยละ 16 32.5 และ 4-9 ตามลำดับ โดยในแม่ท้องแรกระดับ Progesterone ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผสม
แต่ส่งผลให้อัตราผสมติดต่ำลงมาก ดังนั้นกล่าวโดยสรุปได้ว่าการผสมแม่ที่อยู่ในภาวะท้องเทียมจะมี
อัตราการผสมติด และจำนวนลูกต่อคอกลดลงทุกลำดับท้อง (รูปที่ 10)
มีการศึกษาพบว่าการติดเชื้อของมดลูก (Uterine
infection) ส่งผลให้อายุของ Corpus luteum คงอยู่ยาวนานขึ้นโดยไม่สลายไปตามที่ควรจะเป็น
ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจจะเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการเกิดภาวะท้องเทียม
โดยอาจจะมีปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการติดเชื้อคือ การติดเชื้อแบคธีเรียแกรมลบก็ส่งผลให้ระดับ
Progesterone สูงได้เช่นกัน เนื่องจาก ผนังเซลล์ของแบคธีเรีย
(Lipopolysaccharides) สามารถกระตุ้นการหลั่ง Progesterone
จากต่อมหมวกไต (Adrenal gland) แต่สาเหตุที่ทำให้มีการตกไข่ก่อนผสมแล้วทำให้มี
Corpus luteum รุ่นแรกก่อนวันที่ผสมยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
2.8
สารอาหาร (Nutrition)
ปัจจัยนี้ถือว่าเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก
โดยสูตรอาหารที่ทำขึ้นมานั้นต้องมีทั้งปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสม
คำว่าคุณภาพนั้นหมายถึงชนิดของสารอาหารดังเช่น ชนิดของกรดอะมิโน
หรือประเภทของเยื่อใย โดยอาหารกระต่ายที่เหมาะสมจะเน้นไปที่สามส่วนคือ
ปริมาณเยื่อใยรวม (Crude fiber), ชนิด
และอัตราส่วนของเยื่อใย (Digestible fiber: hemicellulose, pectins;
Indigestible fiber: cellulose, lignins) และอัตราส่วนของระดับโปรตีนต่อพลังงานที่ย่อยได้
(Crude protein and digestible energy ratio) ซึ่งค่าดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพ
และประสิทธิภาพการผลิตอย่างชัดเจน อย่างที่ได้กล่าวมาแม่กระต่ายที่อยู่ในภาวะขาดดุลพลังงาน
ดังนั้นสูตรอาหารในแม่พันธุ์จะมีระดับพลังงานสูงกว่าอาหารกระต่ายขุน โดยปัจจุบันสูตรอาหารได้รับการศึกษา
และถือว่าดีที่สุดในขณะนี้ได้แสดงในตารางที่ 1 ถึงแม่จะมีการสร้างอาหารพิเศษออกมาแต่ผลก็ไม่แตกต่างแน่ชัดกับสูตรอาหารดังกล่าว
โดยรายละเอียดของอาหาร และระบบย่อยอาหารผมจะกล่าวในบทความต่อไป
3.
|
การจัดการแม่เข้าผสม
|
Doe
management
|
หลังจากที่ได้เข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อผลผลิตของแม่พันธุ์แล้ว
เราก็สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการจัดการแม่เข้าผสมได้ ในการจัดการสามารถแบ่งปัจจัยที่เข้ามามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตได้สองอย่างคือ
ปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ จากปัจจัยที่ได้กล่าวไปเมื่อพิจารณาแล้วสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ปัจจัยที่ควบคุมได้ (รอบการผลิต พันธุกรรม ท้องเทียม และสารอาหาร) และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
(ลำดับท้อง การยอมรับการผสม และพลังงานสะสม) โดยผมจะกล่าวถึงในรายละเอียดแต่ละหัวข้อต่อไป
ปัจจัยที่ควบคุมได้ :
รอบการผลิต สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละฟาร์ม
โดยฟาร์มต้องทราบว่าฟาร์มมีความต้องการผลิตกระต่ายเพื่อขายเดือนละกี่ตัว
หรือมีสัญญาการซื้อขายอย่างไร
จากนั้นก็จะทราบว่าฟาร์มต้องการกระต่ายกี่ตัวในรอบกี่วัน
จากนั้นต้องมาคิดว่าศักยภาพการผลิตในฟาร์มมีประสิทธิภาพขนาดไหน ดังเช่น
ลูกต่อคอกกี่ตัว อัตราผสมติดเท่าไหร่
จากนั้นเราก็จะสามารถบอกได้ว่าต้องผสมแม่กี่ตัว และใช้รอบผลิตเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
พันธุกรรม เราก็ต้องคัดเลือกแม่สาวเพื่อมาทดแทน แต่เราจะใช้อะไรเป็นดัชนี
หรือหลักการในการเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของฟาร์มเป็นหลักนั่นเอง ท้องเทียม
ถือว่าเป็นภาวะที่กระต่ายป่วย หรือไม่อยู่ในภาวะปกติ
แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขโดยการใช้ฮอร์โมนก่อนการผสมเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว สารอาหาร
นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถให้อาหาร หรือมีสูตรอาหารที่เหมาะสมหรือไม่
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ :
ลำดับท้อง เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง primiparous
doe ซึ่งมีผลผลิตที่ไม่ดีได้ แต่เราสามารถใช้การจัดการ
และฐานข้อมูลมาช่วยเหลือเรา
เพื่อให้เราทราบว่าในช่วงดังกล่าวกระต่ายจะผลิตได้เท่าไหร่ เพื่อให้สัญญาการขายดำเนินการได้อย่างราบรื่น
การยอมรับการผสม เป็นปัจจัยที่เป็นผลมาจากปัจจัยที่ควบคุมได้
เนื่องจากถ้าเราจัดการแม่ให้มีไม่กลับสัดก็จะเยอะขึ้น ทำให้ผลผลิตมีมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเป็นสัดก็เป็นที่ใช้เป็นกิจวัตรของการผลิตกระต่าย
ดังนั้นถ้าเราใช้ทั้งสองปัจจัยคือ การจัดการดูแลที่ดี
และฮอร์โมนที่เป็นเทคนิคเข้าช่วย ก็น่าจะเป็นการส่งเสริมผลผลิตที่มากขึ้น พลังงานสะสม
เป็นผลพลอยได้มาจากการจัดการที่ดี ซึ่งเน้นหนักไปที่ปัจจัยอาหาร และรอบการผลิต
4.
|
สรุป และข้อเสนอแนะ
|
Conclusion
and suggestions
|
สรุปแล้วฟาร์มต้องทราบถึงว่าเราต้องการผลิตกระต่ายเท่าไหร่เพื่อขาย
และต้องการเมื่อไหร่
จากนั้นต้องมีฐานข้อมูลที่พอเพียงเพื่อที่จะประมาณการศักยภาพการผลิตได้
ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถบอกได้ว่าจะใช้รอบการผลิตเท่าไหร่เพื่อให้ได้บรรลุจุดประสงค์อย่างที่ได้ตั้งใจไว้
5.
|
เอกสารอ้างอิง
|
References
|
Alabiso M.,
Bonanno A., Alicata M.L., Portalano B. 1994.
Trattamento
“differenziato” con PMSG su coniglie inseminate
artificialmente.
Riv. di Coniglicoltura, 31, 25-30.
Alabiso M.,
Bonanno A., Alicata M.L., Leto G., Todaro M. 1996.
Productivity
of rabbit does subjected to artificial insemination
and natural
mating. In Proc.: 6th World Rabbit Congress, 9-12
July,
Toulouse, France,
2, 29-35.
Alaphilippe
A., Bernard F. 1998. Effets d’une administration de
prostaglandines
F2a naturelles sur la fertilité et la prolificité
des femelles
et la viabilité des lapereaux produits. In Proc.:
7èmes
Journées de la Recherche Cunicole, Lyon 13-14 mai,
229-231.
Alvariño
J.M.R., Rebollar P.G., Arco J.A., Torres R. 1995.
Estimulation
ovarica en la coneja mediante prostaglandina F2a
y PMSG. Informacion
Technica Economica Agraria, VI
Jornadas
sobre la Produccion Animal, Vol Extra 16, Tomo I.
Alvariño
J.M.R., Del arco J.A., Bueno A. 1998. Effect of motherlitter
separation
on reproductive performance of lactating rabbit
Congress,
9-12 July, Toulouse, France, 2, 45-50.
Boiti C.
1998. International collaboration in rabbit reproduction
research:
presentation of the IRRG group. World Rabbit Sci.,
6, 175-178.
Boiti C.,
Canali C., Brecchia G., Zanon F., Facchin E. 1999. Effects
of induced
endometritis on the life-span of corpus luteum in
pseudopregnant
rabbits and incidence of spontaneous uterine
infections
related to fertility of breeding does. Theriogenology,
52,
1123-1132.
Boiti C.,
Bonanno A., Brecchia G., Alabiso M., Di Grigoli A.,
Zampini D.
2001. Influence d’une séparation mère-jeunes
pendant 48
heures, sur la croissance et la sensibilité à un stress
des
lapereaux. In Proc.: 9èmes Journées de la Recherche
Cunicole, Paris,
167-170.
Boiti C.
2004. Underlying physiological mechanisms controlling
the
reproductive axis of rabbit does. In Proc.: 8th World Rabbit
Congress, September
7-10, Puebla, Mexico,186-206.
Boiti C.,
Brecchia G., Maranesi M., Dell’Aglio C., Gobbetti A.,
Zerani M.
2005. 212 °F at Perugia: what inside the Petri dish.
COST
Meeting, Palermo, Italy, 23-25 June, 2005, 32.
Bonanno A.,
Budetta G., Alabiso M., Alicata M.L. 1990. Effetti del
trattamento
PMSG-GnRH sull’efficienza ovulataria delle
coniglie. Acta
Medica Veterinaria, 36, 441-451.
Bonanno A.,
Alabiso M., Alicata M.L. 1991. Effetti del trattamento
sincronizzante
con PMSG su coniglie inseminate
artificialmente.
Riv. Coniglicoltura, 28, 29-32.
Bonanno A.,
Alabiso M., Alicata M.L., Portolano B. 1993.
Prestazioni
riproduttive di coniglie sincronizzate con 20 U.I
di PMSG e
sottoposte ad I.A. Riv. Coniglicoltura, 30, 37-40.
Bonanno A.,
Alabiso M., Di Grigoli A., Alicata M.L. 1999a. Effect
of change of
cage and/or mother-litter separation on
productivity
of non-receptive lactating rabbit does. Preliminary
investigations.
World Rabbit Sci., 7, 107-111.
Bonanno A.,
Alabiso M., Di Grigoli A., Alicata M.L 1999b. Effect
of a 48h
delayed insemination with or without a 48h doe-litter
separation
on performance of non-receptive does. World Rabbit
Sci., 7,
171-175.
Bonanno A.,
Alabiso M., Di Grigoli A., Alicata M.L., Montalbano
L. 2000.
Effect of a 48-hour doe-litter separation on performance
of free or
controlled nursing rabbit does.In Proc.: 7th World
Rabbit
Congress, Valencia, Spain, A, 97-103.
Bonanno A.,
Di Grigoli A., Alabiso M., Boiti C. 2002. Parity and
number of
repeated doe-litter separation treatments affect
differently
the reproductive performances of lactating does.
World Rabbit
Sci.,
10, 63-70.
Bonanno A.,
Mazza F., Alabiso M., Di Grigoli A., Alicata M.L.
2003.
Effects of bio-stimulation induced by contact with buck
on
reproductive performance of rabbit does. In Proc.: A.S.P.A.
15th
Congress. Italian J. of Animal Science, 2, 133-135.
Bonanno A.,
Mazza F., Di Grigoli A., Alabiso M. 2004. Effects of a
split
48-hour doe-litter separation on productivity of free
nursing does
and their litters. Liv. Prod. Sci., 89, 287-295.
Bonanno A.,
Mazza F., Di Grigoli A., Tornambè G. 2005. Both 48-
hour
doe-litter separation and 2-day controlled suckling
improved
fertility of 11-day lactating does similarly to 20 IU of
PMSG. Cost
Action 848. Joint Scientific Meeting: Management
and housing
of rabbit does: reproductive efficiency and
welfare
interactions. June 23-25, Palermo, Italy.
Bourdillon
A., Chmitelin F., Jarrin D., Parez V., Rouillere H. 1992.
Effect of
PMSG treatment on breeding result of artificial
inseminated
rabbits. J. Appl. Rabbit Res. 15, 530-537.
Boyd I. L.
1986. Effect of daylength on the breeding season in male
Rabbit. Mammalian
Review, 16, 125-130.
Brecchia G.,
Zampini D., Guelfi G., Mazza F., Bonanno A., Boiti C.
2001.
Effects of early maternal deprivation on the
neuroendocrine
responses of young rabbits. In Proc.: 4th
International
Conference on Farm Animal Endocrinology,
Biotechnology,
Agronomy,
Society and Environment, 5, 49.
Brecchia G.,
Bonanno, A., Galeati G., Dall’aglio C., Di Grigoli A.,
Parrillo F.,
Boiti C. 2005. Effects of a short and long term fasting
on the
ovarian axis and reproductive performance of rabbit does.
World Rabbit
Sci. 14,
280.
Browning
J.Y., Keyes P.F., Wolf R.C., 1980. Comparison of serum
progesterone,
20-alpha-dihydroprogesterone, and estradiol-
17-beta in
pregnant and pseudopregnant rabbits: Evidence for
postimplantation
recognition of pregnancy, Biol. of Reprod.,
23,
1014-1019.
Brun J.M.,
Bolet G., Theau-Clément M., Esparbié J., Falières J. 1999.
Constitution
d’une souche synthétique de lapines à l’INRA :
1. Evolution
des caractères de reproduction et du poids des
lapines dans
les premières générations. In Proc.: 8èmes
Journées de
la Recherche Cunicole, 9-10 Juin, Paris, France,
123-126.
Canali C.,
Boiti C., Zampini D., Castellini C., Battaglini M. 1989.
Correlazione
tra fertilità e titolo anticorpale anti-PMSG di
coniglie
trattate ripetutamente con gonadotropine nel corso
della loro
carriera riproduttiva. In Proc.: IX Congresso
Nazionale
ASPA,
Roma, Italie, 671-678.
de carcasse.
Possibilités d’un rythme de reproduction intensif
en
cuniculture. Revue de l’Agriculture, 5, 1157-1169.
Martin B.G.,
Scaramuzzi R.J. 1983. The induction of oestrus and
ovulation in
seasonnaly anovular ewes by exposure to rams. J.
Steroid
Biochem.,
19, 869-875.
Matics Zs.,
Szendrõ Zs., Theau-Clément M., Biró-Németh E., Radnai
I., Gyovai
M., Orova Z., Eiben Cs. 2005. Modification of the
nursing
system as a biostimulation method. World Rabbit Sci.,
13, 287.
Mauléon P.,
Dauzier L., 1965. Variations de durée de l’anoestrus
de lactation
chez les brebis de race Ile-de-France. Ann. Biol.
Anim. Bioch.
Biophys.,
5, 131-143.
McNitt J.I.
1992. Endocrinological approaches for commercial
rabbit
production. J. Appl. Rabbit Res., 15, 364-397.
Mirabito L.,
Galliot P., Souchet C. 1994a. Effet d’un regroupement
des lapines
avant l’I.A sur les performances de reproduction.
In Proc.: 6èmes
Journées de la Recherche Cunicole, La
Rochelle, I,
505-510.
Mirabito L.,
Galliot P., Souchet C. 1994b. Effet de l’utilisation de
la PMSG et
de la modification de la photopériode sur les
performances
de reproduction de la lapine. In Proc.: 6èmes
Journées de
la Recherche Cunicole, La Rochelle, I, 169-178.
Mollo A.,
Veronesi M.C., Battochio M., Cairoli F., Brecchia G., Boiti
C. 2003. The
effects of alfaprostol (PGF 2a analogue) and eCG
on
reproductive performances in postpartum rabbits. World
Rabbit Sci. 11, 63-74.
Moret B.
1980. Comportement d’oestrus chez la lapine. Cuniculture
n°33, 7:
159-161.
Oldham C.
M., Martin G.B., Knight T.W. 1978. Stimulation of
seasonally
anovular Merino ewes by rams. I. The time from
introduction
of the rams to the preovulatory LH surge and
ovulation. Anim.
Reprod. Sci., 1, 283-290.
Parez, V.
1992. Fertamate : pour une utilisation performante et sûre
de la PMSG. L’Eleveur
de lapins, Novembre-Décembre, 43-44.
Parigi-Bini
R., Xiccato G. 1993. Recherches sur l’interaction
reproduction
et lactation chez la lapine. Une revue. World
Rabbit Sci., 1,
155-161.
Pavois V.,
Le Naour J., Ducep O., Perrin G., Duperray J. 1994. Une
méthode
naturelle pour améliorer la réceptivité et la fertilité
des lapines
allaitantes en insémination artificielle. In Proc.:
6èmes
Journées de la Recherche Cunicole, La Rochelle, II, 528-
535.
Perrier G.,
Theau-Clément M., Poujardieu B., Delhomme G. 1998.
Essai de
conservation de la semence de lapin pendant 72 heures.
In Proc.: 7èmes
Journées de la Recherche Cunicole, 13-14 Mai,
Lyon,
France, 237-240.
Perrier G.,
Theau-Clément M., Jouanno M., Drouet J.P. 2000.
Reduction of
the GnRH dose and inseminated rabbit doe
reproductive
performance. In Proc.: 7th World Rabbit Congress,
4-7 July,
Valencia, Espagne. A,
225-230.
Poindron P.,
Le Neindre P. 1980. Endocrine and sensory regulation
of maternal
behavior in the ewe. Adv. Study Behav., 11, 75-119.
Prud’hon M.,
Rouvier R., Cael J., Bel L. 1969. Influence de
l’intervalle
entre la parturition et la saillie sur la fertilité et la
prolificité
des lapins. Ann. Zootech., 18, 317-329.
Rebollar
P.G., Ubilla E., Rodriguez J.M. 1992a. Influence of the
parturition
– Insemination interval on the conception rate in
rabbits
artificially inseminated with fresh semen. J. Appl. Rabbit
Res., 15, 407-411.
Rebollar
P.G., Ubilla E., Alvariño J.M.R., Illera J.C., Silvan G. 1992b.
Effect of
degree of sexual receptivity on post-partum plasma
oestradiol
and ovulatory response in rabbits. Rev. Esp. Fisiol.,
48, 13-18.
Rebollar
P.G., Alvariño, J.M.R., Del Arco, J.A., Bueno A. 1995.
Control de
celo en conejas nulíparas: manejo y tratamiento con
PMSG. Inf.
Tech. Eco. Agr., Vol. Extra 16 Tomo I, 455-457.
Rebollar
P.G., Milanés A., Esquifino A.I., Millán P., Lorenzo, P.L.
2005. Plasma
oestradiol and prolactin in synchronized
multiparous
rabbit does. World Rabbit Sci., 13, 290.
Rebollar
PG., Milanès A., Pereda N., Millán P, Cano P., Esquifino
A.I.,
Villarroel M., Silván G. And Lorenzo P.L. 2006. Oestrus
synchronisation
of rabbit does at early post-partum by doelitter
separation
or ECG injection: Reproductive parameters
and
endocrine profiles. Animal Reprod. Sci., 93, 218-230.
Rodriguez
J.M., Ubilla E. 1988. Effect of sexual receptivity on
ovulation
response in rabbit does induced with GnRH. In Proc.:
4th Congress
of World Rabbit Science Association, 10-14
October,
Budapest, Hungary, Tome
II, 504-508.
Rodriguez
J.M., Agrasal C., Esquifino A. 1989. Influence of Sexual
Receptivity
on LH, FSH and Prolactin Release after GnRH
Administration
in Female Rabbits. Animal Reprod. Sci., 20,
57-65.
Rodriguez de
Lara R. et Fallas L.M. 1999. Environmental factors
and
physiological factors influencing kindling rates and litter
size at
birth in artificially inseminated doe rabbits. World
Rabbit Sci.,
7,
191-196.
offspring’s
growth. World Rabbit Sci., 7, 155-159.
Vodermayer
T. 1989. Interactions between photoperiod,
pheromones
and oestrous behaviour in female rabbits. Ludwig-
Maximilians-Universitat
Munchen, German Federal Republic,
1989. 101p.
Walter M.R.,
Martinet L., Moret B., Thibault C. 1968. Régulation
photopériodique
de l’activité sexuelle chez le lapin mâle et
femelle. Archives
d’Anatomie d’Histologie et d’Embryologie,
51, 773-780.
|
females
inseminated on day 4 or 11 post partum. World Rabbit
Sci., 6,
191-194.
Alvariño M.
2005. Manejo reprodutivo en cunicultura. Jornadas
internacionais
de cunicultura. UTAD – Vila Real, 24-25
Novembro, 135-144.
Avery T.L.,
Fahning M.L., Graham E.F. 1962. Investigations
associated
with the transplantation of bovine ova. II.
Superovulation.
J. Reprod. Fert., 3, 212.
Baril G.,
Remy B., Vallet J.C. Beckers J.F. 1992. Effect of repeated use
of
progestagen-PMSG treatment for oestrus control in dairy
goats out of
breeding season. Reprod. Domest. Anim., 27, 161-
168
Battaglini
M., Boiti C., Canali C., Costantini F. 1986. Parametri
riproduttivi
di coniglie New Zealand White fecondate
artificialmente
in relazione allo stato endocrino-sessuale al
momento
della somministrazione di GnRH. In Proc.: 6°
Congresso
Nazionale Associazione Scientifica di Produzione
Canali C.,
Boiti C., Castellini C., Zampini D. 1991. Riposta
anticorpale
delle coniglie trattate ripetutamente con PMSG
nella
pratica della sincronizzazione degli estri. 2° Meeting
Nazionale
Studio della efficienza riproduttiva degli animali
di interesse
zootecnico, Bergamo, Italie 24 novembre, 1989,
103-108.
Castellini
C., Canali C., Boiti C., Battaglini M. 1991. Effetto del
PMSG sulle
prestazioni riproduttive di coniglie fecondate
artificialmente.
In Proc.: IX Congresso Nazionale ASPA, Rome,
Italie, 679-683.
Castellini
C., Canali C., Boiti C. 1998. Effect of mother-litter
separation
for 24 hours by closing the nestbox or change of
cage, on
rabbit doe reproductive performance. World Rabbit
Sci., 6,
199-203.
Castellini
C., Lattaioli P. 1999. Effect of motile sperms inseminated
on reproductive
performance of rabbit does. Anim. Reprod. Sci.,
57, 111-120.
Cesare
Castellini, Alessandro Dal Boscoa, Maria Arias-มlvarez,
Pedro L. Lorenzo, Raffaella Cardinali, Pilar Garcia Rebollar. 2010. The main
factors affecting the reproductive performance of rabbit
does: A
review. Animal Reproduction Science 122, 174–182
Chang, M.C.,
Pickworth, S. 1969. Egg transfer in the laboratory
animal. In: The
Mammalian Oviduct (ed. E. S. E. Hafez and R.
J. Blandau),
University of Chicago. Press, Chicago.
Chemineau P.
1987. Possibilities of using Bucks to stimulate
ovarian and
oestrus cycles in anovulatory goats- A review.
Livest.
Prod. Sci.,
17, 135-147.
Chemineau
P., Malpaux B., Delgadillo J.A., Guérin Y., Ravault J.P.,
Thimonier
J., Pelletier J. 1992. Control of sheep and goat
reproduction:
use of light and melatonin. Anim. Reprod. Sci.,
30, 157-184.
Chmitelin,
F., Rouillère, R., Bureau, J. 1990. Performances de
reproduction
des femelles en insémination artificielle en post
partum. In
Proc.: 5èmes Journées de la Recherche Cunicole,
12-13
Décembre, Paris,
France. Tome I, Comm. 4.
Davoust, C.
1994. Résultats techniques d’une conduite en IA à 35
jours. Cuniculture
n° 115, 21, 25-40.
Davoust, C.,
Saleil, G., Theau-Clément, M., Roustan, A. 1994.
Influence de
l’association PMSG-hCG sur la productivité
numérique de
lapines allaitantes conduites en bande unique à
35 jours (en
insémination artificielle). In Proc.: 6èmes Journées
de la
Recherche Cunicole, 6-7 Décembre, La Rochelle, France.
1, 145-152.
Delaveau, L.
1978. Chez la lapine, difficultés d’obtenir des saillies
fécondantes.
Cuniculture n° 22, 5, 159-160.
Diaz, P.,
Gosalvez, L.F., Rodriguez, J.M. 1988. Sexual Behaviour in
the
Postpartum Period of Domestic Rabbits. Anim. Reprod.
Sci., 17, 251-257.
Drion P.V.,
Remy B., Houtain J.Y., Mc Namara M., Baril G., Heyman
Y., Cognie
Y., Theau-Clément M., Leboeuf B., Ectors F., Segers
K., Beckers
J.F. 1998. Utilisation répétée des gonadotropines
exogènes
dans le contrôle de la reproduction : justifications,
relations
structure-activité biologique, effets secondaires
potentiels.
Une synthèse. Ann. Méd. Vét., 142, 373-396.
Duperray J.,
Eckenfelder B., Thebault T., Provost J.P. 1999. Effet du
regroupement
des lapines avant l’insémination sur leurs
performances
de reproduction. In Proc.: 8èmes Journ. Rech.
Cunicole
Fr., Paris,
167-170.
Eiben Cs.,
Kustos K., Szendrõ Zs., Theau-Cément M., Gódor-
Surmann K.
2001. Effect of male presence before artificial
insemination
on the receptivity and prolificacy in lactating
rabbit does.
In Proc.: 12th Symposium on Housing and Diseases
of Rabbits,
Furbearing Animals and Pet Animals, Celle, 1-6.
Eiben Cs.,
Kustos K., Gódor-Surmann K., Theau-Clément M.,
Szendrõ Zs.
2004a. Effect of change in nursing method on the
performance
of rabbit does. World Rabbit Sci., 12, 173-183.
Eiben Cs.,
Kustos K., Gódor-Surmann K., Kotány Sz., Theau-
Clément M.,
Szendrö Zs. 2004b. Effect of nursing methods on
productivity
in lactating rabbits. In Proc.: 8th World Rabbit
Congress, September
7-10, Puebla, Mexico, 263-269.
Eiben Cs.,
Tóbiás G., Kustos K., Gódor-Surmann K., Kotány Sz.,
Gulyás B.,
Szira G. 2005. Changing of nursing as
biostimulation:
effect of contact between rabbit doe and its litter.
Cost Action
848. Joint Scientific Meeting: Management and
housing of
rabbit does: reproductive efficiency and welfare
interactions. June
23-25, Palermo, Italy.
Facchin E.,
Castellini C., Rasetti G., Ballabio R. 1992. L’impiego
di
prostaglandina sintetica (alfaprostol) e di PMSG nella
sincronazzazione
degli estri e dei parti nella coniglia. Riv.
Zootec. Vet.
20,
11-14.
Facchin E.,
Castellini C., Zanon F., Canali C., Boiti C. 1998.
Ipofertilità
della coniglia: effetto del trattamento associato
alfaprostol
+ PMSG sulle performances riproduttive delle
coniglie
“ritorno”. Riv. Zoot. Vet., 26, 3-7.
Fortun-Lamothe
L., Bolet G. 1995. Les effets de la lactation sur les
performances
de reproduction chez la lapine. INRA Productions
Animales, 8, 49-56.
Fortun-Lamothe
L. 1998. Effects of pre-mating energy intake on
reproductive
performance of rabbit does. Anim. Sci., 66, 263-
269.
Foxcroft
G.R., Hasnain H. 1973. Effect of suckling and time to mating
Rodriguez de
Lara R., Fallas L.M., Rangel S.R. 2000. Influence of
body live
weight and relocation on kindling rate and
prolificacy
in artificially inseminated nulliparous doe rabbits.
In Proc.: 7th
World Rabbit Congress, 4-7 July, Valencia,
Espagne. A, 251-257.
Rodríguez-De
Lara R., López-Fallas M., Rangel-Santos R.,
Mariscal-Aguayo
V., 2003. Influence of short-term relocation
and male
exposure on sexual receptivity and reproduction in
artificially
inseminated lactating doe rabbits. Anim. Reprod.
Sci., 78,
111-121.
Roustan, A.,
Maillot, D. 1990. Comparaison des résultats de fertilité
et de
productivité numérique à la naissance de deux groupes de
lapines
conduites en insémination artificielle et en saillie
naturelle.
Analyse de quelques facteurs de variation. In Proc.:
5èmes
Journées de la Recherche Cunicole, 12-13 Décembre,
Paris, France.
Tome I, Comm. 3.
Rowlinson
R., Bryant M.J. 1974. Un système permettant de maîtriser
l’anoestrus
de lactation. Effet du mâle. In Congr. Int. Med. Vét.
Porc., Lyon, C5.
Roy F.,
Combes B., Vaiman D., Cribiu E.P., Pobel T., Deletang F.,
Combarnous
Y., Guillou F., Maurel M.C. 1999. Humoral immune
response to
equine chorionic gonadotropin in ewes:
association
with major histocompatibility complex and
interference
with subsequent fertility. Biol Reprod., 61, 209-
18.
Schüddemage
M., Lange K., Hoy S. 1999. Investigations on
influence of
different artificial light regimes in comparison to
natural
daylight on reproductive parameters in female rabbits.
In Proc.: 11th
symposium on housing and diseases of rabbits,
furbear
animals and pet animals. Celle (Germany), 19-20 May
1999.
Signoret
J.P. 1980. Effet de la présence du mâle sur les mécanismes
de
reproduction chez la femelle des mammifères. Reprod. Nutr.
Dévelop., 20, 457-468.
Stevenson
J.S., Davis D.L. 1984. Influence of reduce litter size and
daily litter
separation on fertility of sows at 2 to 5 weeks
postpartum. J.
Anim. Sci., 59, 2, 284-293.
Stradaioli
G., Monaci M., Verini Supplizi A., Canali C., Vacca C.,
Boiti C. 1993.
Recovery rate and embryo quality in New Zealand
White (NZW)
rabbits treated with PMSG and PGF2a.
Association
Européenne de Transfert Embryonnaire, 10-11
Septembre,
Lyon, France, 282-283.
Szendrö
Z.S., Biro-Németh E. 1991. Factors affecting results with
artificial
insemination of rabbits. J. App. Rabbit Res., 14, 72-
76.
Szendrö,
Z.S., Radnai, I., Theau-Clément, M., Jovanczai, Z.S, Biro-
Németh, E.,
Militis, G., Poigner, J. 1999a. A közvetlen fialas
utani
mesterséges termékenyités eredményességét befolyasolo
nehany
tényezö vizsgalata. In Proc.: 11th Hungarian
Conference
on Rabbit Production,
26 May, Kaposvar,
Hungary: 113-118.
Szendrõ Zs.,
Jovanczai Zs., Theau-Clément M., Radnai I., Biro-
Nemeth E.,
Milisits G. 1999b. The effect of doe-litter separation
on
production performance in rabbit does and their kits. World
Rabbit Sci., 7,
165-169.
Szendrõ Zs.,
Matics Zs., Gerencsér Zs., Gyovai M., Biróné Németh
E., Radnai
I. 2005a. Effect of lighting program and
biostimulation
on performance of rabbit does. 1. Continous and
intermittent
lighting. In Proc.: 17th Hungarian Conference on
Rabbit
Production, Kaposvár,
75-78.
Szendrõ Zs.,
Matics Zs., Gerencsér Zs., Gyovai M., Biróné Németh
E., Radnai
I. 2005b. Effect of lighting program and
biostimulation
on performance of rabbit does. Cost Action 848.
Joint
Scientific Meeting: Management and housing of rabbit
does:
reproductive efficiency and welfare interactions. June
23-25, Palermo,
Italy.
Szendrõ Zs.,
Matics Zs., Gerencsér Zs., Gyovai M., Biró-Németh E.,
Radnai I. 2005c.
Effect of lighting and biostimulation on
performance
of rabbit does. 2. Effect of nursing method. In Proc.:
17th
Hungarian Conference on Rabbit production, Kaposvár,
79-82.
Theau M.,
Roustan A. 1980. L’insémination chez la lapine.
Techniques
utilisées, quelques résultats. In Proc.: 2nd World
Rabbit
Congress, April, Barcelone, Spain, Tome I, 333-342.
Theau-Clément
M., Bolet G., Roustan A., Mercier P. 1990a.
Comparaison
de différents modes d’induction de l’ovulation
chez les
lapines multipares en relation avec leur stade
physiologique
et la réceptivité au moment de la mise à la
reproduction.
In Proc.: 5èmes Journées de la Recherche
Cunicole,
12-13 Décembre, Paris, France. Tome I, Comm. 6.
Theau-Clément
M., Poujardieu B., Bellereaud J. 1990b. Influence
des
traitements lumineux, modes de reproduction et états
|
Animale, Italie,
455-459
Berepudo
N.A., Nodu M.B., Monsi A., Amadi E.N. 1993.
Reproductive
response of prepubertal female rabbit to
photoperiod
and/or male presence. World Rabbit Sci., 2, 83-
87.
Beyer C.,
Rivaud N. 1969. Sexual behavior in pregnant and lactating
domestic
rabbits. Physiol. Behav., 4, 753-757.
Bodin L.,
Brice G., Remy B., Maurel M.C., Beckers J.F. 1995. Effects
of repeated
PMSG treatments on sheep reproduction. In Proc.:
46th Annual
Meeting of the European Association for Animal
Reproduction,
4-7 septembre, Prague, Abstract.
Boiti C.,
Castellini C., Canali C., Zampini D., Monaci M. 1995. Long
term effect
of PMSG on rabbit does reproductive performance.
World Rabbit
Sci., 3,
51-56.
Boiti C.,
Canali C., Monaci M., Stradaioli G., Verini Supplizi A.,
Vacca C.,
Castellini C., Facchin E. 1996. Effect of postpartum
progesterone
levels on receptivity, ovarian response, embryo
quality and
development in rabbits. In Proc.: 6th World Rabbit
after
parturition on reproduction in domestic rabbits. J. Reprod.
Fert., 33, 367-377.
Frank H.
1966. Ablation des bulbes olfactifs chez la lapine
impubère.
Répercussions sur le tractus génital et le
comportement
sexuel. Soc. Biol., 160, 389-390.
Garcia, F.,
Perez, A. 1989. Efectos de la lactacion y numero de
lactantes
sobre la monta, ovulacion y supervivencia fetal hasta
el parto,
evaluados per laparoscopia, en conejas multiparas.
Informacion
Tecnica Economica Agraria, 80, 3-10.
Gerencsér
Zs., Theau-Clément M., Nagy I., Princz Z., Orova Z.,
Matics ZS.,
Biro-Németh E., Radnai I., Szendrö ZS. 2006.
Termékenyítés
elötti megnövelt megvilágitás hatása az
anyanyulak
termelésére és szoptatási viselkedésére. In Proc.:
18th
Hungarian Conference on Rabbit Production, 24 May,
133-138.
Gosalvez
L.F., Rodriguez J.M., Diaz P. 1985. Comportamiento
sexual de la
coneja en post parto.In Proc.: X Symposium
Cunicultura,
Barcelona, 29-43.
Gosalvez
L.F., Alvariño J.M.R., Diaz P., Tor M. 1995. Influence of
age,
stimulation by PMSG or flushing on the ovarian response
to LHRHa in
young rabbit females. World Rabbit Sci., 2, 41-
45.
Hammond J.,
Marshall F.H.A. 1925. Reproduction in the rabbit.
Ed: Olivier
and Boyd, Edinburgh, 210 p.
Harned M.A.,
Casida L.E. 1969. Some post partum reproductive
phenomena in
the domestic rabbit. J. Anim. Sci., 28, 785-788.
Hudson R.,
Distel H. 1990. Sensitivity of female rabbits to changes
in
photoperiod as measured by pheromone emission. J. Comp.
Physiol., 167, 2,
222-230.
Hulot F.,
Matheron G. 1979. Analyse des variations génétiques
entre trois
races de lapins, de la taille de portée et de ses
composantes
biologiques en saillie post partum. Annales de
Génétique et
de Sélection Animale, 11, 53-77.
Hulot F.,
Matheron, G. 1981. Effets du génotype, de l’âge et de la
saison sur
les composantes de reproduction chez la lapine.
Annales de
Génétique et de Sélection Animale, 13,131-150.
International
Rabbit Reproduction Group. 2005. Recommendations
and
guidelines for applied reproduction trials with rabbit does.
World Rabbit
Sci.,
13, 147-164
Kennelly
J.J. and Foote, R.H. 1965. Superovulatory responses of
pre-and postpuberal
rabbits to commercially available
gonadotrophins.
J. Reprod. Fert., 9, 177-188.
Kermabon
A.Y., Belair L., Theau-Clément M., Salesse R., Djiane J.
1994. Effect
of anoestrus and bromocryptine treatment on the
expression
of prolactin and LH receptors in the rabbit ovary
during
lactation. J. Reprod. Fert., 102, 131-138.
Kustos K.,
Eiben Cs., Szendrö Zs., Theau-Clément M., Gódor S-Né,
Jovánczai
Zs. 2000. Effect on reproductive traits of male presence
among rabbit
does before artificial insemination (Preliminary
results). In
Proc.: 7th World rabbit Congress, 4-7 July, Valencia
Spain, 161-166.
Lange K.,
Schlolaut, W. 1988. The influence of postpartum
insemination
on litter size and growth of the New Zealand White
rabbits. In
Proc.: 4th World Rabbit Congress, 10-14 October,
Budapest,
Hungary, 1,
130-134.
Lebas F.,
Theau-Clément M., Remy B., Drion P., Beckers J.F. 1996.
Production
of anti-PMSG antibodies and its relation to the
productivity
of rabbit does. World Rabbit Sci., 4, 57-62.
Le Normand
B., Jego P., Maiche, N. 1994. Intérêt de l’allaitement
contrôlé en
élevage cunicole. In Proc.: 6èmes Journ. Rech.
Cunicole
Fr., La Rochelle,
6 et 7 décembre, 499-50.
Lefèvre B.,
Moret B. 1978. Influence d’une modification brutale de
l’environnement
sur l’apparition de l’oestrus chez les lapines
nullipares. Ann.
Biol. Anim. Bioch. Biophys., 18, 695-698.
Lefèvre B.,
Martinet L., Moret B. 1976. Environnement et
comportement
d’oestrus. In Proc.: 1er Congrès International
Cunicole,
Dijon (France),
Communication n°61.
Lindsay
D.R., Cognié Y., Pelletier J., Signoret J.P. 1975. Influence
of the
presence of rams on the timing of ovulation and discharge
of LH in
ewes. Physiol. Behav., 15, 423-426.
Luzi F.,
Crimella C. 1998. Effect of change of cage 2 days before
artificial
insemination on reproductive performance of rabbit
does. World
Rabbit Sci., 6, 195-198.
Luzi F.,
Barbieri S., Lazzaroni C., Cavani C., Zecchini M., Crimella
C. 2001.
Effets de l’addition de propylène glycol dans l’eau de
boisson sur
les performances de reproduction des lapines. World
Rabbit Sci., 9, 15-18.
Maertens L.,
Bousselmi H., Pandey V.S. 2000. Efficiency of different
methods to
synchronize the oestrus in artificially inseminated,
lactating
does. In Proc.: 7th World Rabbit Congress, Valencia,
Spain, 185-190.
Maertens L.
1998. Effect of flushing, mother-litter separation and
PMSG on the
fertility of lactating does and the performance of
their
litter. World Rabbit Sci., 6, 185-190.
Maertens L.,
Luzi F., 1995. Effect of diluent and storage time of
rabbit semen
on the fertility of does reared under two different
lighting
schedule. World Rabbit Sci., 3, 57-61.
Maertens L.,
Okerman, F. 1987. Reproduction, croissance et qualité
between
receptivity and lactation in the doe, and their influence
on
reproductive performances. J. Appl. Rabbit Res., 15, 412-
421.
Theau-Clément
M., Lebas F. 1994. Etude de l’efficacité de la
Ciclogonine
(PMSG) pour induire la réceptivité chez la lapine.
Cuniculture,
115,
21, 5-11
Theau-Clément
M., Poujardieu B. 1994. Influence du mode de
reproduction,
de la réceptivité et du stade physiologique sur
les
composantes de la taille de portée des lapines. In Proc.:
6èmes
Journées de la Recherche Cunicole, 6-7 Décembre, La
Rochelle,
France, 1,
187-194.
Theau-Clément,
M. 1996. Antagonismo tra lattazione e riproduzione
sulla
produttività di coniglie inseminate artificialmente. Atti
della
giornata scientifica sulla riproduzione del coniglio:
dalla ricerca
alla applicazione pratica. Fondazione iniziative
zooprofilattiche
e zootecniche – Brescia, Italia, 9-16.
Theau-Clément
M., Lebas, F. 1996. Effect of a systematic PMSG
treatment 48
hours before artificial insemination on the
productive
performance of rabbit does. World Rabbit Sci. 4,
47-56.
Theau-Clément
M. Castellini C., Maertens L., Boiti C. 1998a.
Biostimulations
applied to rabbit reproduction : theory and
practice. World
Rabbit Sci., 6, 179-184.
Theau-Clément
M., Saleil G., Cornet P., Ungar R., Ungar J.C. 1998b.
Etude de
l’efficacité du Dermojet automatique® pour induire
l’ovulation
des lapines. Cuniculture n°143, 25, 234-236.
Theau-Clément
M., Lebas F., Poujardieu B., Mercier P. 1998c. Effet
de
différentes doses de PMSG sur l’induction de la réceptivité
sexuelle et
la productivité des lapines conduites en
insémination
artificielle. In Proc.: 7èmes Journées de la
Recherche
Cunicole en France, Lyon, 221-223.
Theau-Clément
M., Lebas F., Drion P., Beckers J.F. 1998d. Evolution
de la
production d’anticorps anti-PMSG en fonction de la dose
et du nombre
d’injections : relation avec la productivité des
lapines. In
Proc.: 7èmes Journées de la Recherche Cunicole en
France, Lyon, 225-228.
Theau-Clément
M., Castellini C., Maertens L., Boiti C. 1998e.
Biostimulations
applied to rabbit reproduction: theory and
practice. World
Rabbit Sci., 6, 179-184.
Theau-Clément
M., Mercier P. 1999. Effect of a 24h doe-litter
separation
on rabbit doe reproductive performance and growth
of the
young. World Rabbit Sci., 7, 177-179.
Theau-Clément
M., Boiti C., Mercier P., Falières J., 2000. Description
of the
ovarian status and fertilising ability of primiparous rabbit
does at
different lactation stage, In Proc.: 7th World Rabbit
Congress
Valencia Spain,
Vol A, 259-266.
Theau-Clément
M. 2001. Etude de quelques facteurs de contrôle de
l’interaction
entre la lactation et la reproduction chez la lapine
conduite en
insémination artificielle. Thèse, doctorat, Institut
National
Polytechnique, Toulouse, 103 pages.
Theau-Clément
M., Mercier. P. 2003. Comparaison de l’effet d’une
séparation
mère-jeunes de 24 heures et d’un traitement PMSG,
sur la
réceptivité sexuelle et la productivité des lapines
allaitantes.
In Proc.: 10èmes Journées de la Recherche Cunicole,
19-20
Novembre. Paris,
65-68.
Theau-Clément
M., Mercier. P. 2005. Influence of lighting programs
on the
productivity of rabbit does of two genetic types. World
Rabbit Sci., 13,
293-294.
Theau-Clément
M., Boiti C., Brecchia G. 2005. Characterisation of
pseudopregnant
rabbit does at the moment of artificial
insemination.
Preliminary results. Cost Action 848 - “Multifacetted
research in
rabbits: a model to develop a healthy and
safe
production in respect with animal welfare”. Sci. Meeting;
Management
and housing of rabbit does: reproductive
efficiency
and welfare interactions, June 23-25, Palermo,
Italy.Theriez
M. 1984. Influence de l’alimentation sur les
performances
de reproduction des ovins. 9èmes J. de la
Recherche
ovine et caprine,
294-326.
Ubilla E.,
Rodriguez J.M. 1988. Influence of systematic induction
of
parturition in the rabbit during its reproductive life, with a
synthetic
analogue of PGF2 alpha (Etiproston). In Proc.: 4th
World Rabbit
Congress, 10-14 October, Budapest, Hungary,
2, 494-503.
Ubilla E.,
Rebollar P.G. 1995. Influence of the postpartum day on
plasma
estradiol-17 beta levels, sexual behaviour and
conception
rate in artificially inseminated lactating rabbits.
Anim.
Reprod. Sci., 38,
337-344.
Ubilla E.,
Rebollar P.G., Pazo D., Esquifino A.I., Alvariño J.M.
2000.
Pituitary and ovarian response to transient doe-litter
separation
in nursing rabbits. J. Reprod. Fertil. 118, 361-366.
Ubilla E.,
Rebollar P.G., Pazo D., Esquifino A.I., Alvariño J.M.
2001.
Endocrine profiles during doe-litter separation and
subsequent
pregnancy in rabbits. J. Physiol. Biochem., 57, 23-
29.
Virag Gy.,
Kustos K., Szabo L. 1999. Effect of a 48 hours doe-litter
separation
on rabbit doe’s reproductive performance and
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)