หัวข้อ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

DizFocus:Syphilis




DizFocus: 

ซิฟิลิสกระต่าย, โรคเพศกระต่าย, Vent disease, Rabbit syphilis





พอดีผมออกไปเก็บข้อมูลกระต่ายมาช่วงนึง แล้วสอบถามฟาร์มว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ก็พูดถึงซิฟิลิสกระต่ายเนี่ยแหล่ะครับ ก็เลยอยากเขียนทิ้งไว้

เชื้อสาเหตุ : Treponema cuniculi (Spirocheate) = ทรีโพนีม่า คูนิคูไล

การติดต่อ : การผสมพันธุ์, จากแม่สู่ลูก (ลูกติดตอนผ่านช่องคลอด หรือตอนดูดนม)

รอยโรค : สะเก็ดแผล สีแดงมากขึ้น บวม มีตุ่มน้ำขนาด 1-2 มิลลิเมตร และเจ็บไม่ยอมผสม ที่รอยต่อของเยื่อเมือกกับผิวหนัง มักพบบ่อยตรงอวัยวะเพศ รวมทั้งสามารถลามไปถึง ริมฝีปาก จมูก หนังตา ซึ่งพบในกระต่ายก่อนอย่านมมากกว่ากระต่ายโต

ระยะฟักตัว : นาน (10-16 สัปดาห์), บางทีไม่แสดงอาการ

วิธีตรวจยืนยัน : รอยโรคที่พบเห็น, ย้อมสีพิเศษด้วย Silver stain

ยา : Benzathine penicillin (ออกฤทธิ์นาน) = เบนซาทีน เพนนิซิลิน

ขนาดยา : 20-25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ 40,000 IU (procain penicillin ห้ามให้แม่กระต่ายเลี้ยงลูก เนื่องจากทำให้ลูกตาย)

วิธีให้ : ฉีดเข้ากล้าม 3 ครั้งห่างครั้งละ 1 สัปดาห์ (ห้ามให้ทางการกิน) (ถ้ากระต่ายท้องเสีย หรือ ลดการกินอาหารให้หยุดยาทันที)

การหายของโรค : รอยโรคเริ่มลดลงหลังจากให้ยาครั้งแรกประมาณ 5 วัน และหายหมดประมาณ 2 สัปดาห์

ข้อแนะนำ :
1. เมื่อพบกระต่ายมีรอยโรคห้ามผสมพันธุ์เนื่องจากโรคติดต่อจากการผสมพันธุ์ และแยกกระต่ายดังกล่าวออกจากฝูง รวมทั้งรักษากระต่ายตัวอื่นที่สัมผัส และแยกเหมือนกับกระต่ายป่วย
2. ถ้ารอยโรคไม่หายภายในเวลา 3 สัปดาห์ให้ติดต่อสัตวแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป
3. เชื้อดังกล่าวไม่ติดคน
4. กระต่ายที่รักษาหายสามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อได้ แต่ต้องไม่มีสะเก็ดแผล หรือรอยโรคที่อวัยวะเพศ
5. ระวัง! กระต่ายที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ โดยสามารถสังเกตจากอัตราการผสมติดที่ต่ำลง หรือ รอยโรค
6. ระวัง! การติดต่อจากการจับกระต่ายมีเชื้อไปสู่กระต่ายตัวอื่น ให้ล้างมือให้สะอาดก่อนถึงทำงานต่อไปได้

การป้องกัน : พ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามาใหม่ให้แยกเลี้ยงประมาณ 3 เดือนถ้าไม่มีรอยโรคถึงนำมาผสมได้ หรือ เลือกพ่อแม่จากฟาร์มที่ปลอดโรคดังกล่าว
รูปที่ 1 แสดงตุ่ม และสะเก็ดที่อวัยวะเพศเมีย                                               รูปที่ 2 แสดงสะเก็ดที่ขึ้นที่จมูกกระต่าย  

_________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น