หัวข้อ

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจัดการกระต่ายขุน (กรงเดี่ยว, กรงคู่ และกรงรวม)

การจัดการกระต่ายขุน (กรงเดี่ยว, กรงคู่ และกรงรวม)
Growing rabbit management (Individual, bicellular and collective cages)
      
บทความนี้ได้เขียนขึ้นจากการรวบรวมบทความวิชาการ ประสบการณ์ สัมภาษณ์นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผมหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อย ถ้ามีข้อซักถามหรือข้อเสนอแนะประการใดสามารถติดต่อมาได้ที่ attawitthai@gmail.com สำหรับข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

.สพ.อรรถวิทย์ โกวิทวที
(นิสิตปริญญาเอกสาขาการเพาะพันธุ์กระต่าย มหาวิทยาลัยตูริน ประเทศอิตาลี)
________________________________________________________________________________
1.
บทนำ
The introduction

          กรงเดี่ยว เป็นรูปแบบการจัดการที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงกระต่ายขุน เนื่องจากการอยู่รวมกันของกระต่ายจะแสดงพฤติกรรมทางเพศต่อกระต่ายตัวอื่นซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพตามมาได้ หลังจากการพัฒนาสายพันธุ์ อาหาร และการจัดการ ทำให้แม่พันธุ์สามารถออกลูกได้ในปริมาณที่มากขึ้น ทำให้ฟาร์มต้องขยายโรงเรือนขุนเพื่อรองรับผลผลิตที่มากขึ้น เพื่อลดการลงทุนในการสร้างกรงเดี่ยว ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงแบบคู่ (กรงละสองตัว) และแบบกลุ่ม (กรงละประมาณ 4-6 ตัว) การเพาะเลี้ยงสัตว์ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการผลิตสัตว์ได้ให้ความสำคัญมากขึ้นกับสวัสดิภาพของสัตว์ หนึ่งในปัจจัยที่ใช้พิจารณาก็คือ สัตว์ต้องสามารถแสดงพฤติกรรมธรรมชาติได้ ดังนั้นการเลี้ยงกระต่ายเพียงตัวเดียวสัตว์ก็จะขาดพฤติกรรมทางสังคมดังกล่าวไป ดังนั้นการเลี้ยงกระต่ายเป็นคู่ หรือกลุ่มที่ทำให้สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมธรรมชาติได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้กระต่ายมีความเครียดลดลง และความหวังให้ผลผลิตที่ดีมากขึ้น มากไปกว่านั้นพื้นที่ต่อตัวของกรงรวมจะมีพื้นที่มากกว่าพื่นที่ต่อตัวของกรงเดี่ยวซึ่งทำให้กระต่ายสามารถแสดงพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น บทความนี้จะกล่าวถึงผลกระทบเกี่ยวกับ ศักยภาพการผลิต สุขภาพ คุณภาพซาก และเนื้อกระต่าย จากการจัดการที่แตกต่างกัน (กรงเดี่ยว กรงคู่ และกรงรวม)

2.
ผลจากการจัดการที่แตกต่างกัน
Effects from treatments

1. ประสิทธิภาพการผลิต (น้ำหนัก, ปริมาณการกินต่อวัน, อัตราการโตต่อวัน และอัตราแลกเนื้อ)
          รูปแบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตที่แตกต่างกันออกไป น้ำหนักกระต่าย (Live weight; g) ในช่วงหย่านมจนถึงช่วงกลางของระยะขุน (ประมาณ 1 เดือนหลังหย่านม) ไม่ได้รับผลกระทบจากลักษณะการเลี้ยงที่แตกต่างกัน แต่สำหรับน้ำหนัก ณ วันฆ่า โดยพบว่ากรงเดี่ยวจะให้น้ำหนักที่มากกว่าการเลี้ยงในรูปแบบอื่น (รูปที่ 1) สำหรับการทดลองอื่นก็ให้ผลทดลองไปในทิศทางเดียวกันคือ เมื่อการเลี้ยงกระต่ายมากกว่าหนึ่งตัวต่อกรงก็จะทำให้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตที่ลดลง (Maertens and De Groote, 1984; Xiccato et al., 1999; Combes and Lebas, 2003; Szendro et al., 2009) โดยผลเสียดังกล่าวมาจากพฤติกรรมก้าวร้าวของกระต่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ด้วยกัน ทำให้กระต่ายมีความเครียด ใช้เวลาในการพัก และการกินน้อยลง โดยจะเห็นชัดเจนเมื่อเลี้ยงกระต่ายกรงละประมาณ 10 ตัว (Szendro et al., 2009) แต่ก็มีบางการทดลองที่เลี้ยงกระต่าย 2-6 ตัวต่อกรง แต่ประสิทธิภาพในการโตไม่แตกต่างกับการเลี้ยงแบบกรงเดี่ยว (Verga et al., 2004) โดยในรายงานนี้การเลี้ยงกระต่ายในกรงเดี่ยวส่งผลให้ปริมาณการกินอาหาร และอัตราการโตในแต่ละวันที่ดีกว่าในกระต่ายที่เลี้ยงกรงคู่ และกลุ่ม ส่วนอัตราแลกเนื้อนั้นไม่มีผลกระทบจากรูปแบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน (รูปที่ 1)



รูปที่ 1 แสดงผลการทดลองการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของกระต่าย (น้ำหนักมีชีวิต น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ปริมาณการกินต่อวัน และอัตราแลกเนื้อ) ระหว่างการแบบเลี้ยงแบบกรงเดี่ยว (Individual cage: 1 animal/cage > 10 animals/m2) กรงคู่ (Bicellular cage: 2 animals/cage > 18 animals/m2) และ กรงรวม (Collective cage: 9 animals/cage > 18 animala/m2) ดัดแปลงมาจาก Xiccato et al. (2013)

2. คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อ
          จากรายงานการทดลองพบว่ารูปแบบการเลี้ยงที่แตกต่างกันไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อ แต่ก็มีบางดัชนีที่ได้รับผลกระทบอยู่บ้างดังเช่น การสูญเสียจากการขนย้าย (Transport losses)โดยพบว่ากระต่ายที่เลี้ยงแบบเป็นกลุ่มจะมีการสูญเสียที่น้อยกว่ากระต่ายที่เลี้ยงเป็นคู่ หรือเดี่ยว เนื่องจากกระต่ายที่อยู่เป็นกลุ่มได้อยู่กับสภาวะเครียดมากกว่ากระต่ายที่เลี้ยงแบบอื่น ทำให้สามารถมีการปรับตัวได้ดีกว่าทำให้กระต่ายมีความเครียดระหว่างขนย้ายที่น้อยกว่า และทำให้เกิดความสูญเสียจากการขนย้ายที่น้อยกว่านั่นเอง จุดหนึ่งที่แตกต่างระหว่างการเลี้ยงแบบกรงเดี่ยว และการเลี้ยงเป็นกลุ่มคือ พื้นที่ต่อตัวของการเลี้ยงเป็นกลุ่มจะมากกว่าการเลี้ยงแบบเดี่ยว หรืออาจกล่าวได้ว่าการเลี้ยงแบบกลุ่มมีพื้นที่ให้กระต่ายเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกายได้มากกว่าการเลี้ยงแบบเดี่ยว โดยได้มีการทดลองพบว่าการที่กระต่ายที่อยู่กรงรวมที่มีพื้นที่ต่อตัวมากกว่ากรงเดี่ยวส่งผลให้ปริมาณไขมันในเนื้อน้อยลง และอัตราส่วนของเนื้อขาหลังต่อปริมาณเนื้อทั้งหมดมีสัดส่วนที่มากขึ้น หรือน่องใหญ่ขึ้น (Dal Bosco et al., 2002; Gondret et al., 2009; Combes et al., 2010) อีกดัชนีหนึ่งที่นิยมใช้คือ ระดับความเป็นกรดด่างของเนื้อ (Meat pH) เนื้อที่มีระดับความเป็นกรดด่างที่ต่ำจะเป็นการป้องกันไม่ให้จุลชีพเจริญเติบโต ทำให้สามารถเก็บเนื้อได้นานขึ้น (Prolonged shelf-life) มีการศึกษาพบความเครียดของสัตว์ในขณะที่มีชีวิตจะส่งผลให้ความเป็นกรดด่างของเนื้อสูงขึ้น หรือทำให้เนื้อเสียเร็วขึ้นนั่นเอง ดังนั้นการเลี้ยงแบบรวมที่มีความเครียดมากกว่าก็มีผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อที่แย่ลง (Dal Bosco et al., 2002; Combes et al., 2010)

3.
บทสรุป และข้อเสนอแนะ
Conclusions and suggestions

          การเลี้ยงกระต่ายขุนในกรงเดี่ยวนับว่าเป็นวิธีการที่ดีสุด เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตที่ดี ในขณะที่คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อไม่ได้รับผลกระทบมากเหมือนกับประสิทธิภาพการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วการเลี้ยงกระต่ายเป็นกลุ่มเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมก้าวร้าวที่มากขึ้นซึ่งอาจจะกัดกันทำให้หนังเสียได้ อย่างไรก็ตามการสร้างกรงเดียวต้องใข้เงินทุนมากกว่ากรงประเภทอื่น ซึ่งก็ควรเป็นปัจจัยที่ควรนำเข้ามาพิจารณด้วย

เอกสารอ้างอิง
Bigler L and Oester H 1996. Group housing for male rabbits. In 6th World Rabbit Congress (ed. F Lebas), vol. 2, pp. 411–415. Association Franc¸aise deCuniculture (AFC), Lempdes, France.
Cavani C, Petracci M, Trocino A and Xiccato G 2009. Advances in research on poultry and rabbit meat quality. Italian Journal of Animal Science 8 (suppl. 2), 741–750.
Combes S and Lebas F 2003. Les modes de logement du lapin en engraissement: influence sur les qualite´ s des carcasses et de viandes. In 10e`mes Journe´ es Recherche Cunicole (ed. G Bolet), pp. 185–200. ITAVI, Paris, France.
Combes S, Postollec G, Cauquil L and Gidenne T 2010. Influence of cage or pen housing on carcass traits and meat quality of rabbit. Animal 4, 295–302.
Dal Bosco A, Castellini C and Mugnai C 2002. Rearing rabbits on a wire net floor or straw litter: behaviour, growth and meat qualitative traits. Livestock Production Science 75, 149–156.
Dalle Zotte A, Princz Z, Metzger SZ, Szabo´ A, Radnai I, Biro´ -Ne´meth E, Orova Z and Szendro ZS 2009. Response of fattening rabbits reared under different housing conditions. 2. Carcass and meat quality. Livestock Science 122, 39–47.
De Blas JC and Mateos GG 2010. Feed formulation. In The nutrition of the rabbit, 2nd edition (ed. C De Blas and J Wiseman), pp. 222–232. CABI Publishing, Wallingford, UK.
European Food and Safety Authority (EFSA) 2005a. Scientific Report ‘‘The impact of the current housing and husbandry systems on the health and welfare of farmed domestic rabbit’’. EFSA-Q-2004-023, pp. 1–137. Annex to EFSA Journal 267, 1–31.
EFSA 2005b. Scientific Opinion of the Scientific Panel on Animal Health and Welfare on ‘‘The impact of the current housing and husbandry systems on the health and welfare of farmed domestic rabbit’’. EFSA-Q-2004-023. EFSA Journal 267, 1–31.
Gondret F, Herna´ ndez P, Re´mignon H and Combes S 2009. Skeletal muscle adaptations and biomechanical properties of tendons in response to jump exercise in rabbits. Journal of Animal Science 87, 544–553.
Lambertini L, Vignola G and Zagnini G 2001. Alternative pen housing system for fattening rabbits: effect of density and litter. World Rabbit Science 9, 141–147.
Maertens L and De Groote G 1984. Influence of the number of fryer rabbits per cage on their performance. Journal Applied Rabbit Research 7, 151–153.
Martrenchar A, Boilletot E, Cotte JP and Morisse JP 2001. Wire floor pens as an alternative to metallic cages in fattening rabbits: influence on some welfare traits. Animal Welfare 10, 153–161.
Mirabito L, Galliot P and Souchet C 1999. Logement des lapins en engraissement en cage de 2 ou 6 individus: Re´ sultats zootechniques. In 8e`mes Journe´ es Recherche Cunicole (ed. JM Perez), pp. 51–54. ITAVI, Paris, France.
Postollec G, Boilletot E, Maurice R and Michel V 2006. The effect of housing system on the behaviour and growth parameters of fattening rabbits. Animal Welfare 15, 105–111.
Postollec G, Boilletot E, Maurice R and Michel V 2008. The effect of pen size and an enrichment structure (elevated platform) on the performances and the behaviour of fattening rabbits. Animal Welfare 17, 53–59.
Princz Z, Dalle Zotte A, Metzger SZ, Radnai I, Biro´ -Ne´meth E, Orova Z and Szendr+o ZS 2009. Response of fattening rabbits reared under different housing conditions. 1. Live performance and health status. Livestock Science 121, 86–91.
Rommers J and Meijerhof R 1998. Effect of group size on performance, bone strength and skin lesions of meat rabbits housed under commercial conditions. World Rabbit Science 6, 299–302.
Szendro ZS, Princz Z, Romva´ ri R, Locsma´ ndi L, Szabo´ A, Ba´ za´ r GY, Radnai I, Biro´ - Ne´meth E, Matics ZS and Nagy I 2009. Effect of group size and stocking density on productive, carcass, meat quality and aggression traits of growing rabbits. World Rabbit Science 17, 153–162.
Trocino A and Xiccato G 2006. Animal welfare in reared rabbits: a review with emphasis on housing system. World Rabbit Science 14, 77–93.
Trocino A, Majolini D, Tazzoli M, Filiou E and Xiccato G 2012. Housing of growing rabbits in individual, bicellular and collective cages: fear level and behavioural patterns. Animal, published online – doi:10.1017/S1751731112002029.
Verga M, Luzi F and Carenzi C 2007. Effects of husbandry and management systems on physiology and behaviour of farmed and laboratory rabbits. Hormones Behaviour 52, 122–129.
Verga M, Zingarelli I, Heinzl E, Ferrante V, Martino PA and Luzi F 2004. Effect of housing and environmental enrichment on performance and behaviour in fattening rabbits. World Rabbit Science 13, 139–140.
Xiccato G, Verga M, Trocino A, Ferrante V, Queaque PI and Sartori A 1999. Influence de l’effectif et de la densite´ par cage sur les performances productives, la qualite´ bouche` re et le comportement chez le lapin. In 8e`mes Journe´ es Recherche Cunicole (ed. JM Perez), pp. 59–62. ITAVI, Paris, France.