หัวข้อ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:การจัดการฟาร์ม4





Talk: การจัดการฟาร์ม 4 (ตัวอย่าง ตอนที่1)


ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการนำข้อมูลที่เก็บในฟาร์มมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ ข้อมูลที่ครบถ้วนย่อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และความถูกต้องของข้อมูลก็มีความสำคัญตามมา เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลในองค์รวมย่อมเกิดมาจากข้อมูลแต่ละอันมารวมกันดังนั้นข้อมูลทุกข้อมูลที่บันทึกลงไปย่อมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นตัวอย่างเป็นข้อมูลประจำปี 2551 ที่เก็บมาจากฟาร์มแห่งหนึ่งในประเทศไทย 

ตารางที่ 1 แสดงค่าดัชนีหลักของฟาร์มแห่งหนึ่ง               
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีของฟาร์ม
ค่าดัชนีมาตรฐาน
จำนวนลูก/แม่/ปี


8.78
35

ลูกหย่านม/คอก

5.49±2.5
7


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
6.4±2.14
8


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
14.18%
<5%

จำนวนคอก/แม่/ปี

1.6
5


ขนาดฝูงแม่
229
แล้วแต่ขนาดฟาร์ม


อัตราผสมติด
57.14%
90%

                จากตัวเลขดัชนีที่ออกมาในตารางที่ 1 เมื่อเทียบเลขที่ได้กับความรู้สึก หรือเทียบกับดัชนีมาตรฐานผมทราบว่าทุกคนต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าฟาร์มนี้ย่อมมีปัญหาอยู่แน่นอน ขนาดแม่มีร่วม 200 ตัวแต่ผลผลิตค่อนข้างต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยได้ถามถึงค่าดัชนีต่างๆตามความรู้สึกของเจ้าของฟาร์ม ซึ่งได้ผลเปรียบเทียบระหว่างข้อเท็จจริงกับความรู้สึกได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบดัชนีหลักจากการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีจากสัมภาษณ์
ค่าดัชนีจากการวิเคราะห์
จำนวนลูก/แม่/ปี


ประมาณ 24-35
8.78

ลูกหย่านม/คอก

ประมาณ 6-7
5.49±2.5


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
ประมาณ 8-10
6.4±2.14


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
ประมาณ 10%
14.18%

จำนวนคอก/แม่/ปี

ประมาณ 4-5
1.6


ขนาดฝูงแม่
ประมาณ 200
229


อัตราผสมติด
ประมาณ 60%
57.14%

                จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่าความรู้สึก กับความจริงนั้นมีความแตกต่างกันมากถ้าเราไม่มีการเก็บข้อมูลที่ดี และการวิเคราะห์ที่ถูกต้องย่อมไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เลย การวิเคราะห์ที่แก้ปัญหาผมจะดูเป็นขั้นลำดับ เพื่อหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เริ่มต้นด้วย ลูก/แม่/ปี ของฟาร์มมีแค่ 8 ทั้งที่ของมาตฐานอยู่ที่ 35 ซึ่งต่างกันอยู่เกือบ 5 เท่า ดัชนีนี้เกิดขึ้นจากดัชนีสองตัวคือ ลูกหย่านม/คอก และจำนวนคอก/แม่/ปี ซึ่งทั้งสองค่าก็มีปัญหาเหมือนกัน แสดงว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นทั้งสองทาง เรามาดูทางแรกกันก่อนคือทาง ลูกหย่านม/คอก ซึ่งเกิดมาจาก จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด และจำนวนลูกตายก่อนหย่า การเพิ่มจำนวนลูกคลอด ณ วันคลอดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และแก้ไขได้ยากรวมทั้งเลขในฟาร์มนี้ก็ไม่ถือว่าต่ำมาก แต่ร้อยละการตายของลูกก่อนหย่านั้นมาถึง 14 % ถ้าลดค่านี้ลงหรือประมาณ 2% ได้จะทำให้เราเหลือลูกกระต่ายต่อคอกประมาณ 6 ตัวซึ่งเข้าใกล้ค่ามาตรฐานมากขึ้น จากตรงนี้ผมก็ต้องเข้าไปสำรวจฟาร์มว่าการจัดการการคลอด และลูกก่อนหย่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อหาปัญหา และนำมาแก้ไขต่อไป
                ในตอนหน้าเราจะมาวิเคราะห์กันต่อครับ
__________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:การจัดการฟาร์ม3




Talk: การจัดการฟาร์ม 3 (ประโยชน์)


วันนี้ผมจะกล่าวถึงประโยชน์นะครับ การนำข้อมูลที่เก็บแล้วนำมาใส่ในฐานข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ และนำมาใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ การจัดการ และการพัฒนาศักยภาพฟาร์ม โดยเรามักจะใช้ประโยชน์ในการจัดการ เป็นส่วนใหญ่ ดังเช่น หาวันตรวจท้อง หาวันคลอด จำนวนกระต่ายที่ออกมา เป็นต้น แต่ข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพฟาร์มเรานำมาใช้น้อยมาก ที่จากการสำรวจจะเห็นว่านำมาใช้ในการปลดพ่อพันธุ์ คือ ดูประวัติพ่อพันธุ์ว่าตัวนี้ผสมไม่ค่อยติด หรือให้ลูกน้อยแล้วจึงปลดออกจากฝูง แต่ความจริงแล้วข้อมูลดังกล่าวสามารถทำประโยชน์ได้มากกว่านั้น โดยประโยชน์ต่างๆสามารถสรุปเป็นข้อได้ดังนี้
1. เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ เมื่อเราต้องตัดสินใจทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีข้อมูล หรือหลักฐานมายืนยันการตัดสินใจดังกล่าวก็ไม่ต่างกับการเดา หรือการใช้ความรู้สึกนั่นเอง ในรายงานนี้ผมยกตัวอย่างการเลือกพ่อพันธุ์เอาไว้
2. ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ว่าตอนนี้ฟาร์มของเราอยู่ตรงไหนของปีแล้ว จุดนี้เรานิยมใช้มาสุดคือ อัตราการทดแทนในฝูงเนื่องจากถ้าเราทดแทนน้อยเกินไป แม่เราจะไม่พอ แต่ถ้าทดแทนมากเกินไปกรงเราก็จะไม่พอ วิธีการคิดไม่ยากครับ เริ่มต้นจากเราต้องการมีแม่พันธุ์เท่าไหร่ หรือเรามีกรงสำหรับแม่เท่าไหร่ สมมติเรามี 200 กรงตอนนี้กระต่ายเต็มกรง และเราต้องให้ลำดับท้องเฉลี่ยของแม่อยู่ค่ากลางคือ มีแม่ทุกลำดับท้องในอัตราที่เท่ากัน ซึ่งวิธีการทำให้เป็นดังกล่าวจะกล่าว ในรายละเอียดของแต่ละฟาร์มที่สนใจ ในฟาร์มกระต่ายทั่วไปอัตราคัดทิ้งอยู่ที่ 50%ต่อปี ดังนั้น 1 เดือนต้องคัดทิ้งประมาณ 4.1% ดังนั้นถ้าเรามีแม่ 200 ตัวเราต้องเอาออกเดือนละประมาณ 9 ตัวและเอาแม่ใหม่มาอีก 9 ตัวนั่นเอง วิธีนี้จะทำให้การผลิตเราคงที่ และมีกรงเพียงพอไม่มีกรงว่างเลย โดยดัชนีที่ผมจับคือ ลำดับท้องในฝูงว่าคงที่หรือไม่
3. สามารถเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตระหว่าง อดีต หรือ ฟาร์มอื่น อันนี้เป็นประโยชน์ว่าฟาร์มของเราพัฒนาขึ้นหรือไม่ หรือเรายังย้ำอยู่ที่จุดเดิม อันนี้เป็นฟาร์มหนึ่งก่อน หลังผมเข้าไปแนะนำเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดเนื่องจากฟาร์มมีปัญหาลูกตายก่อนหย่าที่สูงเกินไป ลองไปดูดัชนีกันครับ
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีของฟาร์ม
ค่าดัชนีมาตรฐาน
จำนวนลูก/แม่/ปี


28.54
32.23

ลูกหย่านม/คอก

5.49±2.5
6.32±2.4


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
6.4±2.14
6.6±2.10


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
14.18%
4.2%

จำนวนคอก/แม่/ปี

5.2
5.1


ขนาดฝูงแม่
110
110


อัตราผสมติด
81.12%
80.02%
ดูจากดัชนีใครเป็นเจ้าของก็ต้องดีใจ จำนวนคอก จำนวนแม่ อัตราผสมติด เท่าเดิมแต่สิ่งที่เปลี่ยนอย่างมากคือ จำนวนลูกตายก่อนหย่าที่ดีขึ้น เนื่องจากผมให้เจ้าของฟาร์มดูแลลูกใกล้ชิดมาก ดูว่าลูกทุกตัวได้นมหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้จับแม่ให้นมแก่ลูก ถามว่าเหนื่อยขึ้นแต่ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมาก็น่าประทับใจ เราได้ดูมาฟรีๆต่อแม่ถึง 4 ตัวทั้งฟาร์มก็ร่วม 400 ตัวเป็นต้น
4. สามารถวางแผนพัฒนาศักยภาพการผลิตได้ในอนาคต อันนี้ถามว่าสำหรับผมเป็นสิ่งที่สัตวแพทย์ประจำฟาร์มต้องทำงานหนักมาก เนื่องจากการแก้ปัญหาต่างๆให้ลงอยู่ในระบบแล้วนั้น การพัฒนาศักยภาพต้องใช้ความชำนาญอย่างมาก การเพิ่มผลผลิตทำได้สองทางคือ การเพิ่มฝูงแม่ แล้วคงศักยภาพฟาร์มให้เหมือนเดิม ซึ่งการทำแบบนี้ผมไม่แนะนำ และไม่ใช่งานของผมเป็นงานที่เจ้าของฟาร์มต้องตัดสินใจเองว่าต้องการลงทุนเพิ่มหรือไม่ เนื่องจากงานของผมจะทำเพียงทำให้กระต่ายออกลูกได้เยอะขึ้น ลูกตายน้อยลง ป่วยยากขึ้น เป็นต้น
5. ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่แอบแฝงอยู่ในฟาร์ม โรคบางโรคเรียกว่าโรคแฝงจะทำลายฟาร์มโดยเราดูไม่ออกด้วยตาเปล่าเนื่องจากเวลาสัตว์ก่อนจะแสดงอาการต่างๆจะเป็นลำดับดังนี้ 1.กินอาหารลดลง 2.ประสิทธิภาพการผลิตลดลง 3.แสดงอาการป่วย ดังรูปที่ 1 แต่การรักษาส่วนมากเราจะรอจนถึงสัตว์แสดงอาการป่วยซึ่งบางทีก็สายเกินไป หรือทำให้รอบการผลิตหยุดชะงักลงไปได้ ซึ่งในฟาร์มไก่ หรือสุกร เมื่อสัตวแพทย์ประจำฟาร์มทราบว่ามีการกินลดลงผิดปกติเขาจะรักษาทันทีทำให้สัตว์หายป่วยก่อนที่จะป่วยด้วยซ้ำ
รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของการเกิดโรคเป็นลำดับ

สำหรับบทความตอนต่อไปเราจะยกตัวอย่างจากฟาร์มที่ไปเก็บข้อมูลมานะครับ
____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:กระต่ายคอเอียง3



Talk: กระต่ายคอเอียง ตอนที่ 3 (วิธีการตรวจ การรักษา)




                หลังจากเชื้อชนิดนี้มีการแพร่ระบาด และสร้างปัญหาในหลายประเทศ นักวิจัยได้มีการคิดค้นวิธีการตรวจหาเชื้อเพื่อยืนยันการติดเชื้อหลากหลายวิธี เนื่องจากกระต่ายส่วนมากที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการใดๆ วิธีการตรวจที่มีความถูกต้องและแม่นยำย่อมมีความจำเป็นเพื่อบ่งบอกการมีเชื้ออยู่ในฟาร์มได้เป็นอย่างดี วิธีการตรวจสามารถหาได้สองอย่างคือ หาตัวเชื้อ (Antigen) และ หาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากสัตว์ (Antibody) ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้
                การตรวจหาตัวเชื้อ หรือแอนติเจน พูดง่ายๆก็คือการหาตัวเชื้อเลย เหมือนกับว่าเราเจอตัวพยาธิชัดๆเลยประมาณนี้ ดังนั้นถ้าผลบวกจากวิธีการตรวจดังกล่าวก็บอกได้ว่ามีเชื้อดังกล่าวจากตัวอย่างที่นำมาใช้ตรวจ การตรวจหาตัวเชื้อในเชื้อชนิดนี้ต้องใช้ตัวอย่างจาก สมอง ตา ตับ ไต หัวใจ ของกระต่ายมาตรวจซึ่งวิธีการตรวจมีดังนี้
                1. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีมาตรฐาน (Gold standard) แต่อย่างว่าชีวิตจริงใครจะเอาไปตรวจT-T
                2. การศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาร่วมกับการย้อมสี หรือพูดง่ายๆคือตัดไสลด์แล้วย้อมสี สำหรับสีที่ผมแนะนำคือสี Uvitex2B นะครับ เพราะเห็นชัดและง่ายที่สุด เราจะเห็นเป็นสีเรื่องแสงชัดเจนมาก
                3. การตรวจหาสารพันธุกรรม หรือหาดีเอนเอนั่นเอง
                การตรวจหาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากสัตว์ (Antibody) จะสามารถบอกได้เพียงว่าครั้งหนึ่งสัตว์ดังกล่าวเคยได้รับเชื้อเท่านั้น ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าแอนติบอดี้คืออะไร แอนติบอดี้ คือโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสัตว์ได้สร้างขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา หรืออธิบายได้ว่าเวลาร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม จากนั้นร่างกายต้องการกำจัดออกไป วิธีหนึ่งที่จะกำจัดออกไปได้คือการสร้างแอนติบอดี้ซึ่งมีความจำเพาะต่อเชื้ออย่างมาก หมายความว่าถ้าเราติดเชื้อ A ร่างกายก็จะสร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อ A ออกมา ดังนั้นวิธีการตรวจก็จะหาแอนติบอดี้ A ถ้าการตรวจเจอก็สามารถบอกได้ว่า ร่างกายได้สร้างมีการต่อต้านเชื้อ A ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าร่างกายเคยได้รับเชื้อมาก่อน แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าในขณะนี้ยังมีเชื้ออยู่หรือร่างกายได้กำจัดเชื้อไปแล้ว ตัวอย่างที่ใช้ตรวจก็คือเลือด ซึ่งปัจจุบันมีวิธีดังนี้
         1. Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และ Carbon immune assay (CIA) ซึ่งสองวิธีนี้ได้มีรายงานการใช้ในประเทศไทยแล้ว โดยวิธีดังกล่าวเราสามารถสั่งซื้อชุดตรวจจากบริษัทแล้วมาตรวจได้
                2. Indirect fluorescent assay (IFA)
                3. Direct agglutination
สำหรับการรักษามียาที่สามารถเลือกใช้ได้สองตัวดังนี้ครับ
1. Albendazole ขนาด 20-30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นลดขนาดยาเป็น 15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องอีก 1 เดือน โดยให้ทางการกิน
2. Fenbendazole ขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้ทางการกิน
โดยส่วนมากมักให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อจะอยู่ในเซลล์แล้วออกจากเซลล์ด้วยการทำให้เซลล์แตกออกมาดังนั้นต้องมีการอักเสบที่อวัยวะที่เชื้ออยู่อย่างแน่นอน หลังจากที่ไม่มี Caprofen ก็สามารถใช้ Tramadol แทนได้ครับ
ครับผม สำหรับบทความครั้งต่อไปจะเป็นตอนจบนะครับ ถ้าใครมีวิธีการรักษาที่แตกต่างออกไปก็สามารถมาพูดคุยกันได้ครับ
__________________________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:การจัดการฟาร์ม2



Talk: การจัดการฟาร์ม 2 (ใบหน้ากรง)



ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงการบันทึกข้อมูลพื้นฐานด้วยการใช้ใบหน้ากรงครับ โดยใบนี้จะอยู่หน้ากรงแม่ แต่เราต้องมีเบอร์พ่อเช่นเดียวกัน วิธีการบันทึกหน้ากรงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลในฟาร์มได้ โดยลักษณะของใบหน้ากรงมีดังนี้
เบอร์แม่………………….วันเกิด………………………..
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด





























































โดยข้อมูลที่จะกรอกลงไปจะแสดงให้เป็น ตัวหนา ซึ่งวิธีการกรอกข้อมูลจะอธิบายด้วยการจำลองเหตุการณ์ต่างๆเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจดังนี้
เหตุการณ์ที่ 1 นำแม่สาว หรือแม่เข้าฝูงใหม่ โดยมีข้อมูลว่า รหัสแม่ 10117 วันเกิด 6/1/55 ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด





















กรณีไม่มีเบอร์แม่ให้ใส่เบอร์กรงแทน ถ้าไม่ทราบวันเกิดให้ประมาณจากอายุกระต่าย
เหตุการณ์ที่ 2 ผสมพันธุ์ โดยมีข้อมูลว่า ผสมวันที่ 8/7/55 กับพ่อเบอร์ 71 ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71



















กรณีไม่มีเบอร์พ่อให้ใส่เบอร์กรงแทน
เหตุการณ์ที่ 3 ตรวจท้อง โดยมีข้อมูลว่า จะตรวจท้องหลังผสม 10-12 วัน
กรณีที่ได้ผลว่าท้อง ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71
X


















กรณีที่ได้ผลว่าไม่ท้อง ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71

X

















กรณีที่ได้ผลว่าไม่ท้อง แล้วกลับมาผสมวันที่ 20/7/55 กับพ่อเบอร์ 811 ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71

X






20/7/55
811









เหตุการณ์ที่ 4 คลอดลูกโดยมีข้อมูลว่าคลอดวันที่ 9/8/55 มีลูกเกิดมาทั้งหมด 10 ตัว แต่ตายไปวันแรกเกิด 1 ตัวให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71
X

9/8/55
10
1














เหตุการณ์ที่ 5 ลูกหย่านมโดยมีข้อมูลว่าหย่านมวันที่ 11/9/55 มีลูกเหลือ 7 ตัว ณ วันที่หย่า ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71
X

9/8/55
10
1
11/9/55
7












เหตุการณ์ที่ 6 มีการปลดแม่ แม่หาย แม่ตาย ขายแม่ ให้บันทึกดังนี้ คือ เขียนวันที่ ขีดฆ่าใบ และเขียนสาเหตุการจากไป





ในกรณีนี้กรุณาเก็บใบเอาไว้ให้คณะผู้วิจัยด้วย
เหตุการณ์ที่ 7 กรณีอื่นๆ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ และเขียนวันที่ และจดเหตุการณ์ลงให้ช่องหมายเหตุ ให้บันทึกดังนี้
เบอร์แม่……10117……….วันเกิด……6/1/55……
วันที่
เบอร์พ่อ
ผลการตรวจท้อง
วันที่คลอด
จำนวนลูกกระต่าย
วันที่หย่า
จำนวนลูก
หมายเหตุ
ท้อง
ไม่ท้อง
เกิด
ตายเกิด
8/7/55
71
X







29/7/55








แท้ง

ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของฟาร์มต้องเก็บข้อมูลมีดังนี้
1.เก็บข้อมูลในใบหน้าฟาร์มอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
2.เก็บใบหน้ากรงเมื่อมีการไปของกระต่ายในฟาร์ม เพื่อนำไปบันทึก
3.กรุณาจดวันที่พ่อออกไปจากฝูง สาเหตุการไป (ตาย ขาย หาย ปลด) และรหัสพ่อ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือ ปากกาที่ใช้ต้องไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา เพราะว่าบางฟาร์มบอกให้เก็บให้แล้วปากกามันเลือนหายไป เลยต้องมาพิสูจน์อักษรกันไป สำหรับบทความต่อไป ผมจะกล่าวถึงประโยชน์ของการเก็บข้อมูลครับ
____________________________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด