หัวข้อ

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โรคในกระต่ายที่ไม่เคยพบในไทย (โรคติดเชื้ออุบัติใหม่)

โรคในกระต่ายที่ไม่เคยพบในไทย (โรคติดเชื้ออุบัติใหม่)
Emerging infectious disease which was not reported in Thailand

บทความนี้ได้เขียนขึ้นจากการรวบรวมบทความวิชาการ ประสบการณ์ สัมภาษณ์นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผมหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อย ถ้ามีข้อซักถามหรือข้อเสนอแนะประการใดสามารถติดต่อมาได้ที่ attawitthai@gmail.com สำหรับข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

น.สพ.อรรถวิทย์ โกวิทวที
(นิสิตปริญญาเอกสาขาการเพาะพันธุ์กระต่าย มหาวิทยาลัยตูริน ประเทศอิตาลี)
________________________________________________________________________________

1.
บทนำ
The introduction

สวัสดีครับ วันนี้แค่ฟังชื่อหัวข้อก็แทบตกใจพร้อมทั้งอยากทราบว่าโรคในกระต่ายที่ไม่เคยมีในไทยคือโรคอะไรเนี่ย อย่างที่ได้กล่าวไปโรคดังกล่าวยังไม่เคยมีรายงานในประเทศไทยรวมทั้งยังได้รับการยืนยันจากหน่วยองค์กรนานาชาติที่มีหน้าที่เกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ (World organization for animal health :OIE) แต่เราทุกคนต้องรู้จัก เนื่องจากถ้าวันดีคืนดีโรคเข้ามาสู่ประเทศไทย แล้วเราเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับเชื้อ แล้วเราทราบอาการจะได้แจ้งให้สัตวแพทย์ หรือผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ แล้วทำการควบคุมโรคให้เร็วที่สุด ซึ่งถ้าเราไม่ทราบแล้วทำให้โรคแพร่ระบาดออกไปย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิต และธุรกิจในวงการกระต่ายอย่างรุนแรง

เมื่อพูดถึงคำว่าโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious disease) มีความหมายว่า การเกิดเหตุการณ์ของสัตว์ที่ติดเชื้อโรคโดยมีลักษณะใหม่คือ โรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่ใหม่ที่ไม่เคยมีการรายงานโรคนี้มากก่อน หรือการติดเชื้อจากเชื้อชนิดใหม่ ยกตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่น ไข้หวัดนก ซึ่งพบในต่างประเทศมาก่อนจากนั้นก็มีการแพร่ระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทย ซึ่งไม่เคยมีหรือไม่เคยพบโรคดังกล่าวมาก่อน ซึ่งผลกระทบ หรือผลเสียหายจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ก็มีความรุนแรงอย่างที่เราทราบกันดี สำหรับกระต่ายเราก็บอกได้ว่าโรคคอเอียง หรือ Encephalitozoonosis เป็นโรคใหม่เช่นกัน เนื่องจากในอดีตเราไม่เคยมีปัญหากับโรคดังกล่าว แต่หลังจากธุรกิจกระต่ายได้รับความสนใจมากขึ้น การนำเข้ากระต่ายจากต่างประเทศ ก็มีมากขึ้นโดยขาดการตรวจสอบถึงโรคต่างๆอย่างถูกต้อง ทำให้เชื้อ Encephalitozoon cuniculi ซึ่งพบเป็นปกติในต่างประเทศอยู่แล้ว สามารถเล็ดลอดเข้าสู่ประเทศไทย และทำให้มีการแพร่ระบาดอย่างเช่นทุกวันนี้ คงเห็นภาพแล้วนะครับ ว่าปัญหามาอย่างไร แล้วพอปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดเข้ามาแล้ว การกำจัด การแก้ไข นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก

การเลี้ยงสุนัข และแมว เราอาจคุ้นเคยกับการทำวัคซีนไม่ว่าจะเป็น พิษสุนัขบ้า หรือโรคต่างๆ ก็เป็นคำถามว่ากระต่ายควรทำวัคซีนไหม ในมุมมองของผม เราควรทำ พิษสุนัข ในสัตว์เลี้ยงลูกน้ำนมทุกชนิดที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ถึงโอกาสการติดเชื้อในกระต่าย หรือโอกาสที่กระต่ายจะกัดเราแล้วทำให้เราติดเชื้อ มันจะน้อยมากก็ตาม แต่มันมีโอกาสไม่ใช่หรือครับ เราอาจจะเป็นผู้โชคร้ายก็ได้ ดังนั้น วัคซีนเข็มละไม่ถึงร้อยบาท กับชีวิตของเรา รวมทั้งชีวิตของคนที่เรารัก ก็ลองชั่งน้ำหนักความสำคัญดูแล้วกันครับ ที่พูดเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนเพราะว่า จริงๆแล้วในกระต่ายต่างประเทศที่เป็นสัตว์เลี้ยง และกระต่ายที่คัดเป็นพ่อแม่พันธุ์ (ยกเว้นกระต่ายขุน) ต้องทำวัคซีนสองตัวคือ โรค Myxomatosis (MXD) และ โรค Viral haemorrhagic disease (VHD) ซึ่งไม่มีการทำวัคซีนสองตัวนี้ในไทยเลย หรือมีก็น้อยมาก เนื่องจากเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์เพราะเราไม่มีโรคดังกล่าวในประเทศไทย ก็เพราะการทำวัคซีนเป็นการทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นในโรคนั้นๆ เมื่อสัตว์ติดเชื้อก็จะมีอาการป่วยที่รุนแรงน้อยลงนั่นเอง โดยทั้งสองโรคนี้เป็นเชื้อไวรัสทั่งคู่ โดยรายละเอียดจะกล่าวต่อไปครับ

2.
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรค MXD และ VHD
MXD and VHD information


Myxomatosis (MXD)
Viral haemorrhagic disease (VHD)
เชื้อก่อโรค
Myxomavirus (Leporipoxvirus: ไวรัส)
- Calicivirus
ข้อมูลทั่วไป
- โรคในระบบส่วนมากจะตายในที่สุด
- กระต่ายป่าจะมีความต้านทานมากกว่ากระต่ายเลี้ยง
- การแพร่โรคโดยพาหะ การกัดของแมลง (ยุง ไรขน หมัด) หรือจากการสัมผัสกับ แมลงที่ไม่กัด สิ่งปูรอง อาหาร ที่ปนเปื้อน
- อาการในกระต่ายเลี้ยงขึ้นอยู่กับเวลาที่กระต่ายยังมีชีวิตอยู่ ส่วนมากจะตายภายใน 2 สัปดาห์)
- เป็นโรคติดต่อที่ทำให้เกิดอัตราการตายสูงมากในกระต่ายเลี้ยง
- อัตราการตายสูง 80-90% ในกระต่ายที่ไม่ได้รับวัคซีน
- ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงผ่านเยื่อเมือกต่างๆ สิ่งปูรอง
- อาการของโรคหลักอยู่ที่ ตับ กับระบบทางเดินหายใจ
แหล่งแพร่ระบาด
- เริ่มต้นที่ ออสเตรเลีย และยุโรป เนื่องจากใช้เป็นวิธีควบคุมจำนวนกระต่ายในธรรมชาติ
- ปัจจุบันมีการระบาดที่ ยุโรป อเมริกาใต้ อเมริกา ออสเตรเลีย
- ยุโรป คิวบา แมกซิโก อเมริกาใต้ แอฟริกา จีน เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา
อาการ
- ระยะฟักตัว 1-3 วัน
- อาการแบบเร็วมาก > อ่อนแรง เปลือกตาบวม มีไข้ และตายภายใน 7 วัน
- อาการแบบเร็ว > เปลือกตาบวมก่อน จากนั้นมีการบวมบริเวณรอบปาก บริเวณทวาร และบวมน้ำ เลือดออกที่ผิวหนัง อ่อนแรง เบื่ออาหาร หายใจลำบาก ชัก อาการทางประสาทอื่นๆ และตายใน 1-2 สัปดาห์
- อาการแบบช้า > เปลือกตาด้านนอก และชั้นเนื้อเยื่อของเปลือกตาอักเสบ บวม บวมน้ำที่บริเวณฐานหู มีตุ่มแข็งกระจายทั่วร่างกาย และบริเวณที่โดนแมลงกัด อ่อนแรง เบื่ออาหาร หายใจลำบาก ไข้สูง ตายภายใน 2 สัปดาห์
- อาการจะแสดงเมื่ออายุกระต่ายมากกว่า 2 เดือน โดยกระต่ายที่อายุน้อยกว่านี้จะไม่แสดงอาการ
- ระยะฟักตัว 1-3 วัน
- โรคมีทั้งการเกิดอาการแบบเร็ว และช้า โดยมีอาการดังนี้ เบื่ออาหาร อ่อนแรง นอนขดตัว อาการทางประสาท (อัมพาต ขาแปร) อาการทางระบบทางเดินหายใจ (หายใจลำบาก เลือดออกทางจมูก) เยื่อเมือกสีม่วงคล้ำ ตายภายใน 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากตับสามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีชีวิตรอดก็จะพบ  ดีซ่าน น้ำหนักลด อ่อนแรง
ปัจจัยเสี่ยงส่งเสริม
- กระต่ายที่เลี้ยงนอกบ้านมีโอกาสติดเชื้อมากกว่า
- แมลงพาหะมาก เช่น หน้าฝน ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- การสัมผัสกับเชื้อ
- เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในเนื้อที่แช่แข็งได้

การรักษา
ไม่มี รักษาตามอาการ
ไม่มี รักษาตามอาการ แนะนำให้เมตตาฆาต
ติดสู่คน
ไม่ติดสู่คน
ไม่ติดสู่คน
การป้องกัน
- ควบคุมป้องกันแมลงพาหะ
- กักโรคการต่ายที่เข้ามาใหม่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- การทำวัคซีน
- กักโรคการต่ายที่เข้ามาใหม่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- การทำวัคซีน
- 3% ฟอร์มาลีน สามารถทำลายเชื้อได้

3.
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในกระต่าย
Rabbit farm biosecurity system

          วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อทุกชนิดย่อมใช้วิธี และหลักการเดียวกัน โดยการเกิดโรคติดเชื้อต้องใช้ปัจจัยสามารถอย่างเสมอคือ ผู้รับเชื้อ (กระต่าย : Host) เชื้อ (Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นหลักการป้องกันโรคติดเชื้อก็นำมาจากข้อมูลดังกล่าว โดยใช้หลักการว่าไม่ให้มีเชื้อเข้ามาในฟาร์ม โดยมีชื่อเรียกว่า ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity system) ซึ่งก็คือ ระบบที่ใช้ป้องกัน หรือลดโอกาสที่เชื้อจะเข้ามา และออกจากฟาร์มของเรา โดยรายละเอียดผมจะกล่าวในโอกาสต่อไป แต่ใช้หลักการโดยหลักคือ เมื่อทุกอย่างมีการเข้าออกจากฟาร์มต้องสะอาดเสมอ ดังเช่น แยกส่วนฟาร์มกับที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน เมื่อเข้าฟาร์มต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า อุปกรณ์ที่ใช้ก็ในฟาร์มเท่านั้น รถยนต์เข้าออกต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อก่อน สัตว์ที่เข้ามาต้องกักโรคนอกฟาร์มประมาณ 2-4 สัปดาห์ ก่อนจะนำเข้าฟาร์ม มีการกำจัดซากสัตว์ ของเสีย อย่างถูกต้อง เป็นต้น

4.
บทสรุป และข้อเสนอแนะ
Conclusions and suggestions

                สรุปแล้วโรคทั้งสองที่กล่าวไปนับว่าเป็นโรคที่อันตราย และต้องพึงระวัง แต่ผมไม่ค่อยห่วงทั้งสองโรคนี้เท่าไหร่เนื่องจากระยะฟักตัวสั้น อาการของโรครุนแรง สังเกตง่าย ลองคิดดูง่ายๆว่าสัตว์ทุกชนิดก่อนจะเข้าประเทศเราต้องผ่านด่านกักกันโรคสัตว์ก่อนเสมอ ปัจจุบันในฟาร์มสายพันธุ์มักจะนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งการตรวจในสนามบินมีกฎแน่ชัด เข้มงวด ส่วนมากเรามักจะซื้อกระต่ายโตแล้ว มีใบรองรับจากต่างประเทศ อีกทั้งโรคเป็นโรคที่แสดงอาการเร็ว สังเกตง่าย ทำให้กระต่ายป่วยเป็นไปได้ยากที่จะเล็ดรอดเข้ามา อีกทั้งสัตว์พาหะเป็นแมลงซึ่งมีอายุไม่กี่สัปดาห์ก็เป็นการลดความเสี่ยงไปในตัว แต่ในทางกลับกันโรคที่ไม่แสดงอาการ ระยะฟักตัวนาน อยากเช่น Encephalitozoon cunicuil หรือโรคคอเอียง ซึ่งน้อยมากที่จะแสดงอาการ การตรวจก็ต้องเจาะเลือดตรวจ หรือใช้การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อซึ่งยุ่งยากใช้เวลา จึงทำให้โอกาสการที่โรคลักษณะนี้จะเข้ามาได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ตามชายแดน หรือผลิตภัณฑ์เนื้อนั้น ค่อนข้างยากที่จะควบคุม ก็เลยจำเป็นต้องป้องกันก่อนจะแก้ไข อีกทั้งการเลี้ยงกระต่ายของฟาร์มในไทยค่อนข้างอยู่แยกกัน และมีการติดต่อกันเฉพาะกลุ่มไม่ได้กระจายไปทั่วประเทศ ดังนั้นถ้ามีการแพร่ระบาดการควบคุมก็จะง่ายกว่านั่นเอง  

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น