หัวข้อ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:การจัดการฟาร์ม3




Talk: การจัดการฟาร์ม 3 (ประโยชน์)


วันนี้ผมจะกล่าวถึงประโยชน์นะครับ การนำข้อมูลที่เก็บแล้วนำมาใส่ในฐานข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ และนำมาใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ การจัดการ และการพัฒนาศักยภาพฟาร์ม โดยเรามักจะใช้ประโยชน์ในการจัดการ เป็นส่วนใหญ่ ดังเช่น หาวันตรวจท้อง หาวันคลอด จำนวนกระต่ายที่ออกมา เป็นต้น แต่ข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพฟาร์มเรานำมาใช้น้อยมาก ที่จากการสำรวจจะเห็นว่านำมาใช้ในการปลดพ่อพันธุ์ คือ ดูประวัติพ่อพันธุ์ว่าตัวนี้ผสมไม่ค่อยติด หรือให้ลูกน้อยแล้วจึงปลดออกจากฝูง แต่ความจริงแล้วข้อมูลดังกล่าวสามารถทำประโยชน์ได้มากกว่านั้น โดยประโยชน์ต่างๆสามารถสรุปเป็นข้อได้ดังนี้
1. เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ เมื่อเราต้องตัดสินใจทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีข้อมูล หรือหลักฐานมายืนยันการตัดสินใจดังกล่าวก็ไม่ต่างกับการเดา หรือการใช้ความรู้สึกนั่นเอง ในรายงานนี้ผมยกตัวอย่างการเลือกพ่อพันธุ์เอาไว้
2. ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ว่าตอนนี้ฟาร์มของเราอยู่ตรงไหนของปีแล้ว จุดนี้เรานิยมใช้มาสุดคือ อัตราการทดแทนในฝูงเนื่องจากถ้าเราทดแทนน้อยเกินไป แม่เราจะไม่พอ แต่ถ้าทดแทนมากเกินไปกรงเราก็จะไม่พอ วิธีการคิดไม่ยากครับ เริ่มต้นจากเราต้องการมีแม่พันธุ์เท่าไหร่ หรือเรามีกรงสำหรับแม่เท่าไหร่ สมมติเรามี 200 กรงตอนนี้กระต่ายเต็มกรง และเราต้องให้ลำดับท้องเฉลี่ยของแม่อยู่ค่ากลางคือ มีแม่ทุกลำดับท้องในอัตราที่เท่ากัน ซึ่งวิธีการทำให้เป็นดังกล่าวจะกล่าว ในรายละเอียดของแต่ละฟาร์มที่สนใจ ในฟาร์มกระต่ายทั่วไปอัตราคัดทิ้งอยู่ที่ 50%ต่อปี ดังนั้น 1 เดือนต้องคัดทิ้งประมาณ 4.1% ดังนั้นถ้าเรามีแม่ 200 ตัวเราต้องเอาออกเดือนละประมาณ 9 ตัวและเอาแม่ใหม่มาอีก 9 ตัวนั่นเอง วิธีนี้จะทำให้การผลิตเราคงที่ และมีกรงเพียงพอไม่มีกรงว่างเลย โดยดัชนีที่ผมจับคือ ลำดับท้องในฝูงว่าคงที่หรือไม่
3. สามารถเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตระหว่าง อดีต หรือ ฟาร์มอื่น อันนี้เป็นประโยชน์ว่าฟาร์มของเราพัฒนาขึ้นหรือไม่ หรือเรายังย้ำอยู่ที่จุดเดิม อันนี้เป็นฟาร์มหนึ่งก่อน หลังผมเข้าไปแนะนำเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดเนื่องจากฟาร์มมีปัญหาลูกตายก่อนหย่าที่สูงเกินไป ลองไปดูดัชนีกันครับ
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีของฟาร์ม
ค่าดัชนีมาตรฐาน
จำนวนลูก/แม่/ปี


28.54
32.23

ลูกหย่านม/คอก

5.49±2.5
6.32±2.4


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
6.4±2.14
6.6±2.10


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
14.18%
4.2%

จำนวนคอก/แม่/ปี

5.2
5.1


ขนาดฝูงแม่
110
110


อัตราผสมติด
81.12%
80.02%
ดูจากดัชนีใครเป็นเจ้าของก็ต้องดีใจ จำนวนคอก จำนวนแม่ อัตราผสมติด เท่าเดิมแต่สิ่งที่เปลี่ยนอย่างมากคือ จำนวนลูกตายก่อนหย่าที่ดีขึ้น เนื่องจากผมให้เจ้าของฟาร์มดูแลลูกใกล้ชิดมาก ดูว่าลูกทุกตัวได้นมหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้จับแม่ให้นมแก่ลูก ถามว่าเหนื่อยขึ้นแต่ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมาก็น่าประทับใจ เราได้ดูมาฟรีๆต่อแม่ถึง 4 ตัวทั้งฟาร์มก็ร่วม 400 ตัวเป็นต้น
4. สามารถวางแผนพัฒนาศักยภาพการผลิตได้ในอนาคต อันนี้ถามว่าสำหรับผมเป็นสิ่งที่สัตวแพทย์ประจำฟาร์มต้องทำงานหนักมาก เนื่องจากการแก้ปัญหาต่างๆให้ลงอยู่ในระบบแล้วนั้น การพัฒนาศักยภาพต้องใช้ความชำนาญอย่างมาก การเพิ่มผลผลิตทำได้สองทางคือ การเพิ่มฝูงแม่ แล้วคงศักยภาพฟาร์มให้เหมือนเดิม ซึ่งการทำแบบนี้ผมไม่แนะนำ และไม่ใช่งานของผมเป็นงานที่เจ้าของฟาร์มต้องตัดสินใจเองว่าต้องการลงทุนเพิ่มหรือไม่ เนื่องจากงานของผมจะทำเพียงทำให้กระต่ายออกลูกได้เยอะขึ้น ลูกตายน้อยลง ป่วยยากขึ้น เป็นต้น
5. ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่แอบแฝงอยู่ในฟาร์ม โรคบางโรคเรียกว่าโรคแฝงจะทำลายฟาร์มโดยเราดูไม่ออกด้วยตาเปล่าเนื่องจากเวลาสัตว์ก่อนจะแสดงอาการต่างๆจะเป็นลำดับดังนี้ 1.กินอาหารลดลง 2.ประสิทธิภาพการผลิตลดลง 3.แสดงอาการป่วย ดังรูปที่ 1 แต่การรักษาส่วนมากเราจะรอจนถึงสัตว์แสดงอาการป่วยซึ่งบางทีก็สายเกินไป หรือทำให้รอบการผลิตหยุดชะงักลงไปได้ ซึ่งในฟาร์มไก่ หรือสุกร เมื่อสัตวแพทย์ประจำฟาร์มทราบว่ามีการกินลดลงผิดปกติเขาจะรักษาทันทีทำให้สัตว์หายป่วยก่อนที่จะป่วยด้วยซ้ำ
รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของการเกิดโรคเป็นลำดับ

สำหรับบทความตอนต่อไปเราจะยกตัวอย่างจากฟาร์มที่ไปเก็บข้อมูลมานะครับ
____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น