หัวข้อ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk: การจัดการฟาร์ม1



Talk: การจัดการฟาร์ม 1 (บทนำ)

สวัสดีครับ ขอโทษที่ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเขียนเพิ่ม พอดีผมไปรับงานเป็นผู้ช่วยวิจัยอีกงานนึง ทำเรื่องเกี่ยวกับไก่ชนในกรุงเทพฯ ถ้าใครมีข้อมูลก็มาแบ่งปันกันได้ครับ บทความนี้ของแบ่งเป็นสองตอนใหญ่ๆนะครับ คือบทนำ ที่จะเขียนนี้ซึ่งมีเนื้อหาไม่มาก และในส่วนต่อไปก็จะเกี่ยวกับตัวอย่างข้อมูลในฟาร์มที่ผมได้ไปเก็บมา
                ก่อนอื่นเลย พูดถึงการจัดการฟาร์ม ว่าคืออะไร หลายคนคงมีหลายความหมาย แต่ผมของสรุปง่ายๆเลยแล้วกันว่า การจัดการฟาร์มคือ กิจกรรมที่ทำให้ฟาร์มมีผลผลิตได้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างมั่นคง โดยกิจกรรมที่กล่าวไปนั้นประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายอย่างดังเช่น การจัดชุดแม่ผสม การทดแทน การคัดทิ้ง อาหาร เป็นต้น
                การบันทึกข้อมูลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งและเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการฟาร์ม เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกสถานะของฟาร์มทั้งในอดีต อนาคต รวมไปจนถึงการคาดการณ์ ค้นหาถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการบันทึกข้อมูลที่ดีและครบถ้วนย่อมส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มให้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลที่บันทึกนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการข้อมูลใดมาวิเคราะห์บ้าง ซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่ผมให้ฟาร์มเก็บนั้นมีเพียง เบอร์แม่ เบอร์พ่อ วันที่ผสม ใครผสมกับใคร ตรวจท้องวันที่เท่าไหร่ ได้ผลอย่างไร ผสมซ้ำเมื่อไหร่ คลอดวันไหน ลูกคลอดกี่ตัว ตายกี่ตัว อย่านมวันไหน อย่านมแล้วเหลือรอดกี่ตัว พ่อแม่ปลดหรือตายออกวันไหน ซึ่งผมประทับใจมากครับฟาร์มส่วนใหญ่ได้จดข้อมูลเหล่านี้ไว้อย่างดี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการวิเคราะห์ดัชนีหลัก
ดัชนีหลัก คือดัชนีที่มีความสำคัญมาก และมักใช้เป็นดัชนีที่บ่งบอกศักยภาพการผลิตของฟาร์มที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามดัชนีหลักย่อมเกิดจากดัชนีรอง และค่าอื่นๆ จากหลักการดังกล่าวทำให้เราสามารถติดตามหาสาเหตุของค่าดัชนีหลักที่ผิดปกติไปได้ ดัชนีหลักอันแรกคือ จำนวนลูก/แม่/ปี (Offring/Doe/Year) ซึ่งค่านี้ประกอบไปด้วย จำนวนคอก/แม่/ปี (Litter/Doe/Year) และ จำนวนลูกหย่านม/คอก (PreWean/Litter) จำนวนคอก/แม่/ปี ประกอบด้วย ขนาดฝูงแม่ (BreedingGroupSize) และ อัตราผสมติด (%ForrowingRate) ส่วนจำนวนลูกหย่านม/คอก ประกอบไปด้วย จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด (BornAliveLitter) และจำนวนลูกตายก่อนหย่า (PreWean Mortality) โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวจะแสดงให้เห็นดังรูปที่


รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธุ์ของดัชนีหลัก

ซึ่งในอนาคตเราอาจเก็บข้อมูลมากกว่านี้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นกว่าเดิมได้  สำหรับดัชนีรอง หรือ
ดัชนีการเงิน ถ้ามีโอกาสผมจะอธิบายให้ฟังโดยละเอียดอีกทีครับ โดยดัชนีที่ผมอยากให้คิดได้คือ ค่าใช้จ่ายต่อแม่ต่อปี ซึ่งถ้า
เราทราบจะทำให้เรารู้ทันทีว่าตอนนี้เราขาดทุนกำไรเท่าไหร่ ส่วนอีกดัชนีอีกตัวที่สำคัญในกระต่ายคือ Back breed หมาย
ความว่า ตั้งแต่กระต่ายคลอดจนได้รับการผสมครั้งใหม่ใช้เวลานานกี่วัน ในต่างประเทศมีตั้งแต่ 1,7,21 หรือมากกว่านั้น
ในฟาร์มขนาดใหญ่ ซึ่งจะบ่งบอกถึงการจัดการ และประสิทธิภาพฟาร์มเป็นอย่างดี
สุดท้ายนี้ถ้ามีฟาร์มไหน หรือท่านผู้ใดได้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ ทางคณะผู้วิจัยขออนุญาติเข้าไปเก็บข้อมูลเพื่อนำมา
วิเคราะห์ประสิทธิภาพฟาร์มในประเทศไทย สามารถติดต่อมาที่ attawitthai@hotmail.com ได้เลยครับผม
ตอนหน้าผมจะเขียนวิธีเก็บข้อมูลเบื้องต้นด้วยวิธีใบหน้ากรง สำหรับฟาร์มที่สนใจ ซึ่งถ้าใครมีข้อมูลประมาณ 5-6 เดือน 
สามารถส่งมาให้ผมวิเคราะห์ให้ได้ครับ

____________________________________________________________________________________________________________________\
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น