หัวข้อ

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:Zoonosis2



Talk: โรคกระต่ายสู่คน2 (Rabbit zoonosis) ตอนจบ



5. Pasteurella multocida (หวัดกระต่าย) เชื้อนี้เป็นเชื้อที่พบมากที่ทำให้กระต่ายเป็นหวัด โดยคนจะติดทางสูดดมเชื้อเข้าไป แต่ก็น้อยมากที่คนจะติดเชื้อนี้ อาการก็คล้ายกับหวัด คือมีน้ำมูก น้ำตาไหล ซึ่งจุดสังเกตที่หลังมือกระต่ายจะมีน้ำมูกติดอยู่เนื่องจากมีการป้ายน้ำมูก (รูปที่ 9-10) โดยยาที่รักษาก็จะใช้ยาที่ไวต่อเชื้อนี้ดังเช่น Oxytetracycline, Enrofloxacin เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเชื้อ นี้หวังว่าจะมีโอกาสได้เขียน เพราะมีความสำคัญและคิดว่าทุกฟาร์มต้องผ่านโรคนี้มาอย่างแน่นอน

6. Enteric bacteria (แบคธีเรียที่ทำให้ท้องเสีย) ก็พบในกระต่ายที่ท้องเสียแล้วเราไปรับเชื้อจากอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วเรากินเข้าไปทำให้ท้องเสียได้ โดยเชื้อที่มักพบว่าก่อปัญหาคือ Salmonella sp., Campylobacter sp. และ Escherichia coli การรักษาก็ให้ยาปฎิชีวนะให้ตรงกับเชื้อ

7. Encephalitozoonosis (โรคคอเอียงจากโปรโตซัว) สำหรับโรคนี้รายละเอียดไปหาในบล๊อกได้ครับในหัวข้อ Talk:กระต่ายคอเอียง อย่างว่าครับเชื้อนี้จะติดในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน แต่ก็มีรายงานว่าติดคนปกติได้ สำหรับอาการมีสามระบบคือ ประสาท (คอเอียง ขาแปล เป็นต้น) ตา (อักเสบ ของเหลวสีขุ่นในตา เป็นต้น) ไต (รูปที่12-14) การรักษา Albendazole ขนาด 20-30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นลดขนาดยาเป็น 15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องอีก 1 เดือน โดยให้ทางการกิน หรือ Fenbendazole ขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโล กรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้ทางการกิน ซึ่งมักให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย
                8. Tularaemia (ไข้กระต่าย) โรคนี้เป็นที่ฮือฮามากครับตอนผมอยู่ปี 3 เนื่องจากมีคนไทยติดเชื้อ ซึ่งความจริงคืออะไร ผมก็ไม่ทราบครับ เชื้อสาเหตุคือ Francisella tularensis เชื้อจะพบมาจากเนื้อเยื่อ เลือด และอุจจาระกระต่ายที่ติดเชื้อ จากนั้นเชื้อติดคนจากบาดแผลหรือผ่านแมลงที่กัดได้เช่น ยุง เห็บ เป็นต้น ซึ่งอาการในคนคือมีรอยโรคที่ผิวหนัง มีเชื้อในกระแสโลหิต เยื่อหนุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตามเชื้อนี้เป็นเชื้อที่พบในกระต่ายป่าซึ่งอยู่ในสกุล Lepus sp. ซึ่งกระต่ายเลี้ยงหรือกระต่ายเนื้อชื่อ Orytholagus cuniculus ซึ่งการพบเชื้อในกระต่ายเลี้ยงน้อยมากๆ ซึ่งการติดเชื้ออเมริกานั่นเกิดจากคนไปล่ากระต่ายป่าแล้วติดเชื้อ อย่างไรก็ตามเชื้อนี้อันตรายถึงตายต้องระวังไว้ครับ
                9. Rabie (พิษสุนัขบ้า) กระต่ายคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ดังนั้นกระต่ายถึงติดเชื้อนี้ได้ การติดเชื้อก็เกิดจากบาดแผลการกัด หรืออย่างอื่นทำให้เชื้อในน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายสัตว์ปกติ หรือผ่านจากเยื่อเมือกแล้วถึงติดเชื้อ อาการของกระต่ายคือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป พบอาการทางประสาทดังเช่น ตาบอด ขาหน้าเป็นอัมพาต เป็นต้น มีไข้ น้ำลายไหล ไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ โดยอาการจะแสดงหลังติดเชื้อไปแล้ว 1 เดือน  วิธีป้องกันคือทำวัคซีนในกระต่ายแต่ก็ยังไม่มีการทดลองว่าวัคซีนตัวไหนใช้แล้วสามารถป้องกันเชื้อในกระต่ายได้ แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย โดยงานวิจัยในส่วนนี้ผมจะพยายามตามให้ครับ แต่ที่สำคัญที่สุดคือเมื่อเราถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกัดแม้มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย เราต้องไปหาหมอเพื่อฉีดยาโรคพิษสุนัขบ้าทันที ยังไงเงินค่ายาไม่กี่บาทกับเวลาไม่เท่าไหร่ถ้าเทียบกับชีวิตทั้งชีวิตมันก็ไม่คุ้ม
                สรุปโรคที่สำคัญมากคือโรคพิษสุนัขบ้า กับไข้กระต่าย ดังนั้นการป้องกันคือ เราต้องล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการทำงาน หรือเล่นกับกระต่าย กรงให้มีความสะอาดไม่อับชื้น ถ้ามีปัญหาหรืออาการป่วยให้รีบไปหาสัตวแพทย์ทันที

_______________________________________________________________________________________________ 
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น