หัวข้อ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk: กระต่ายคอเอียง2



Talk: กระต่ายคอเอียง ตอนที่ 2 (การแพร่ระบาด อาการ)




              ครับผมมาคุยกันต่อเลยนะครับ สำหรับการแพร่ระบาดพบว่ามีรายงานการแพร่ระบาดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย โดยความชุกของเชื้อในประเทศต่างได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 ในประเทศไทยได้รับการยืนยันการมีเชื้อในประเทศเป็นที่แน่นอนแล้วว่ามีเชื้อในประเทศไทย (Kovitvadhi et al., 2012) ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ศึกษาทั้งในกระต่ายเลี้ยง และกระต่ายเนื้อโดยพบความชุกมากถึงร้อยละ 27.78 รวมทั้ง Polpruksa et al. (2011) ได้ตรวจแอนติบอดี้ของกระต่ายที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่ง (ผมจะอธิบายต่อไป) พบว่ามีความชุกมากถึงร้อยละ 34.5 ดังนั้นเชื้อดังกล่าวได้เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อนี้ย่อมมีความสำคัญยิ่ง
               เชื้อสามารถเข้าไปทำลายได้ 3 ระบบทำให้แสดงอาการได้ทั้งหมด 3 ระบบโดยจะแสดงอาการเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบรวมกันได้
1.ระบบประสาท ดังเช่น คอเอียง (รูปที่ 1) อัมพาต ขาแปร (รูปที่ 2) เป็นต้น
2.ทางตา โดยอาการที่มักพบคือ Cataract (รูปที่ 3) ตาอักเสบ แล้วมักเห็นสีเหลืองขุ่นข้นอยู่ในตากระต่าย (รูปที่ 4)
3. ไต ทำให้มีอาการเหมือนกับกระต่ายเป็นโรคไต ดังเช่น ปัสสาวะมาก ดื่มน้ำมาก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามกระต่ายที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการซึ่งพบมากถึงร้อยละ 14.46 ดังนั้นการตรวจทางห้องปฎิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือที่มีความจำเพาะจึงมีความจำเป็นในการยืนยันการติดเชื้อ

                  ผมหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นนะครับ โดยในตอนต่อไปผมจะกล่าวถึง วิธีการตรวจ และการรักษานะครับ

___________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น