หัวข้อ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

DizFocus:E.cuniculi





DizFocus
     : Encephalitozoon cuniculi infection, โรคคอเอียงจากโปรโตซัว




เขียนเรื่องนี้ทั้งทีก็เลยเขียนแบบสรุปแบบสั้นๆให้ด้วย

เชื้อสาเหตุ : Encephalitozoon cuniculi =เอ็นเซ็บฟาลิโตซูน คูนิคูไล ซึ่งเชื้อนี้อยู่ในกลุ่ม Microsporidia เป็นโปรโตซัวกึ่งรา

การติดต่อ : การกิน ((ทางหลัก) สูดดม จากสปอร์ที่ปนเปื้อนในธรรมชาติ และผ่านรกจากแม่ที่มีเชื้อ

อาการ : สามารถแสดงอาการได้ 3 ระบบ โดยจะแสดงอาการเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบรวมกันได้ 1.ระบบประสาท ดังเช่น คอเอียง อัมพาต ขาแปร เป็นต้น 2.ทางตา โดยอาการที่มักพบคือ มีการอักเสบ แล้วมักเห็นสีเหลืองขุ่นข้นอยู่ในตากระต่าย 3. ไต เนื่องจากมีการทำลายเซลล์ไตอย่างมาก ทำให้มีอาการเหมือนเป็นโรคไต ดังเช่น ปัสสาวะมาก ดื่มน้ำมาก เป็นต้น แต่กระต่ายที่ติดเชื้อส่วนมากมักไม่แสดงอาการ

วิธีตรวจยืนยัน : ตรวจหาตัวเชื้อต้องใช้ตัวอย่างเป็นสมอง ตับ ไต: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน, ตรวจทางจุลพยาธิวิทยาด้วยการย้อมสีพิเศษ และการตรวจหาสารพันธุกรรม ส่วนการตรวจหาการตอบสนองของร่างกายใช้เลือดเป็นตัวอย่าง: ELISA, CIA, Direct agglutination, IFA เนื่องจากวิธีการตรวจยุ่งยากส่วนมากจึงจะวินิจฉัยแยกจาก อุบัติเหตุ โรคทางระบบทางเดินหายใจ ไรหู แล้วถ้าไม่ใช่สาเหตุดังกล่าวจึงสงสัยเชื้อ E. cuniculi

ยา : เลือกยาที่จะให้เพียงข้อเดียวเท่านั้น
1.Albendazole ขนาด 20-30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นลดขนาดยาเป็น 15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องอีก 1 เดือน โดยให้ทางการกิน
2.Fenbendazole ขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้ทางการกิน
โดยส่วนมากมักให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย

การหายของโรค : คอที่เอียงจะค่อยๆกลับมาปกติ แต่น้อยรายมากที่จะรักษาหายได้

ข้อแนะนำ :
1. ถ้ามีคนในบ้านมีภูมิคุ้มกันบกพร่องดังเช่น เอดส์ ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ใช้ยามะเร็ง เป็นต้น ให้รีบนำกระต่ายที่สงสัยออกจากบ้าน และติดต่อแพทย์ที่รักษาอยู่ เนื่องจากเชื้อสามารถติดคนกลุ่มดังกล่าวได้
2. เมื่อพบกระต่ายติดเชื้อให้รีบแยกออกจากฝูงทันที และล้างมือทำความสะอาด ตากแดด อุปกรณ์ เพื่อป้องกันแพร่ระบาดของเชื้อ
3. การป้องกันเชื้อไม่ให้เข้าสู่ฟาร์มคือ เมื่อนำกระต่ายใหม่เข้ามาให้กักโรคไว้ก่อนประมาณ 2 เดือนถ้าไม่มีอาการถึงนำเข้าฝูงได้ แต่วิธีการดังกล่าวก็ไม่ใช่วิธีการที่จะคัดกรองโรคได้ 100%
4. ในกรณีส่วนใหญ่ยาที่ใช้รักษาไม่สามารถทำลายเชื้อออกจากร่างกายได้ทั้งหมด ยาทำหน้าที่เพียงไม่ให้เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งทำให้อาการกระต่ายแย่ลง และทำให้กระต่ายไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้
5. กระต่ายที่ติดเชื้อส่วนมากมักไม่แสดงอาการ


_______________________________________________________________________________________________________

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด



3 ความคิดเห็น:

  1. กระต่ายผมกำลังติดโรคนี้อยู่ แต่มันเพิ่งคลอดลูกอีก 4 ตัว แล้วตัว ผู้ที่ ผสมพันธุ์ด้วยจะ ติดโรคนี้ไหมครับ

    ตอบลบ
  2. ถ้าพูดถึงหลักการโอกาสติดเช่นเดียวกันครับ แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่ได้กล่าวไปร่างกายสามารถสร้างงภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ได้ ลูก หรือพ่อที่ผสมสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้ ผมสรุปให้แล้วกัน ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นกระต่ายในฟาร์ม หรือเป็นกระต่ายของผม ถ้าเรายังต้องการที่จะได้ลูก ผมก็จะผสมต่อไป โดยต้องเลี้ยงแม่และพ่อให้ดี แข็งแรง ซึ่งผมก็จะให้ยา Fenbedazole ควบคู่ไปด้วย ในลักษณะการควบคุมโรค แต่ลูกกระต่ายที่จะขายออกไปต้องเป็นกระต่ายที่ร่างกายแข็งแรง รวมทั้งต้องบอกคนที่ซื้อไปเลี้ยงถึงข้อมูลดังกล่าวด้วย หลังจากนั้นเราต้องเตรียมแผนการสำหรับลูกกระต่ายที่เกิดมาแล้วมีอาการผิดปกติชัดเจนว่าจะทำอย่างไรต่อไป สุดท้ายถ้าในพ่อแม่พันธุ์แสดงอาการทางคลินิคชัดเจน จำเป็นต้องหยุดผสม และรักษาทันที ในความคิดผมตราบใดที่แม่และพ่อยังสุขภาพดี แล้วสามารถให้ลูกที่มีคุณภาพดี ผมคิดว่าเรายังสามารถดำเนินการผสมต่อไปได้ครับ

    ตอบลบ
  3. โรคนี้สามารถติดคนได้ไหมครับ มีวิธีดูแลยังไงไม่ให้ติดคนได้บ้าง

    ตอบลบ