หัวข้อ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk: แม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก2

Talk : แม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก ตอนที่ 2 (หลักการ ตอนจบ)


                 หลังจากที่เราสามารถช่วยเหลือลูกกระต่ายได้แล้วนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักการว่าทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น เผื่อท่านผู้อ่านได้เข้าใจหลักการแล้วสามารถนำไปประยุกต์ต่อไปในอนาคตได้ ก่อนอื่นเลยนะครับ ก่อนที่เราจะรักษาหรือช่วยเหลือได้เราต้องเข้าใจธรรมชาติให้ดีเสียก่อน แล้วการช่วยเหลือในกรณีที่ปัญหาอยู่ที่การจัดการเราก็เพียงจำลองให้เหมือนกับธรรมชาติหรือทำให้ดีกว่าเท่านั้นเอง
                มีหลายครั้งที่มีคนถามพบว่าลูกกระต่ายต้องเอาน้ำเข้าหรืออาหารเข้าเมื่อไหร่ในกรณีแยกกับแม่ เมื่อผมเจอคำถามนี้ผมก็จะเปิดรูปที่ 1 ให้ดูทันทีครั้งเนื่องจากข้อมูลนี้เกิดจากงานวิจัย และทำให้เราเข้าใจได้ง่าย ผมจะอธิบายรูปที่ 1 เป็นข้อดังนี้ครับ
                1. กราฟแกนตั้งบ่งบอกถึงปริมาณอาหาร นม หรือน้ำมี่กระต่ายกิน มีหน่วยเป็นกรัมต่อวัน แกนนอนหมายถึงช่วงอายุของกระต่ายมีหน่วยเป็นวัน เส้นสีส้มคือ การดื่มนม เส้นสีน้ำเงินคือ การกินน้ำ ส่วนเส้นสีเขียว คือกินอาหารแห้ง
                2. สำหรับเส้นสีส้ม ลูกกระต่ายเริ่มกินนมตั้งแต่วันแรกจนกินมากที่สุดประมาณวันที่ 15-18 วันจากนั้นก็ลดลงจนเลิกกินนมประมาณวันที่ 44-49 วัน (จะมองเห็นชัดในรูปที่ 2 ) ซึ่งปริมาณนมที่กินในแต่ละวันก็ตามในรูปที่ 1
                3. จากนั้นช่วงวันที่ 18 ลูกกระต่ายจะเริ่มกินน้ำและอาหารทำให้วันที่ 18 คือวันที่เริ่มนำอาหารและน้ำเข้าให้ แต่ในกรณีแม่เลี้ยงลูกเราก็จะมีถาดอาหารและน้ำให้แม่อยู่แล้ว ลูกกระต่ายจะกินเอง ขอให้แต่ลูกกระต่ายสามารถเข้าไปถึงน้ำและอาหารด้วยตนเอง


รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณอาหารต่างชนิดที่กระต่ายกินในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 35 วัน (ดัดแปลงจาก Szendro et al., 1999; Fortun-Lamothe and Gidenne, 2000)

                  Milk oil คือไขมันที่อยู่ในนมแม่ มีความสามารถในการทำให้เชื้อแบคธีเรียลดลง สามารถกล่าวได้ว่ากระต่ายที่โตแล้วจะมีแบคธีเรียมากมายหลายชนิดอยู่ในซีกัม (Caecum) ซึ่งจะให้พลังงานส่วนมากในกระต่าย แต่กระต่ายเด็กที่เกิดใหม่นั้นจะไม่มีเชื้อดังกล่าวในทางเดินอาหารเลย โดยการที่ลูกกระต่ายจะได้รับเชื้อที่ดีคือ กระเพาะอาหารกระต่ายตอนเกิดจะมีความเป็นกรดด่างที่ค่อนข้างสูงซึ่งถ้ามีเชื้อก่อโรคเข้ามาในช่วงนี้กระต่ายก็จะป่วยทันที แต่อย่างไรก็ตามช่วงนี้กระต่ายยังกินนมจากแม่ที่มี Milk oil ช่วยป้องกันอยู่ แต่เมื่อลูกกระต่ายกินนมลดลงปริมาณ Milk oil ที่ได้ก็ลดลงไป ในขณะที่ความเป็นกรดด่างยังสูงเหมือนเดิมโอกาสนี้ลูกกระต่ายจะเริ่มกินอุจจาระกลางคืน (Soft feces) จากแม่เพื่อนำเชื้อที่ดีเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากในขณะที่กินนมเชื้อที่ดีจะไม่สามารถเข้าไปสู่ทางเดินอาหารกระต่ายได้เช่นเดียวกับเชื้อก่อโรค เนื่องจาก milk oil ไม่มีความจำเพาะต่อเชื้อดีหรือก่อโรคนั่นเอง หลังจากนั้นระดับความเป็นกรดด่างของกระเพาะกระต่ายจะลดต่ำลงจนเชื้อไม่สามารถเข้าไปได้อีก ซึ่งสามารถอธิบายได้ในรูปที่ 2
                จากหลักการดังกล่าวนั้น ในกรณีที่แยกกันแม่ถาวรแต่สามารถกินนมแม่ได้ ช่วงแรกที่ลูกยังกินนมอยู่จะปลอดภัย จาก นั้นจะเข้าสู่ช่วงรับเชื้อที่ดีจากแม่ ซึ่งถ้าลูกกระต่ายไม่ได้รับอุจจาระกลางคืนที่ดีนานเกินไป อาหารที่กินก็ไม่สามารถย่อยได้ทำให้เสียชีวิตในที่สุด แต่ในกรณีที่กระต่ายไม่ได้กินนมจากแม่เลยก็จะไม่ได้รับการคุ้มกันจาก Milk oil ดังนั้นการเลี้ยงที่ สะอาดย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
จากรูปที่ 2 ได้ดัดแปลงมาจาก Smith (1966) แบ่งออกเป็น 3 โซน โซนแรกคือโซนที่ Milk oil ยังป้องกันอยู่ได้ในกรณีที่ลูกได้กินนมจากแม่ โซนต่อมาคือโซนที่ลูกกระต่ายกินนมลดลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ต้องได้เชื้อที่ดีจากแม่ และโซนสุดท้ายคือโซนที่ระดับความเป็นกรดด่างลงต่ำ แต่ถ้ายังได้รับอุจจาระกลางคืนที่มีเชื้อที่ดีทันก็มีสิทธิรอดได้ โดยเส้นสีชมพูแสดงถึงระดับความเป็นกรดด่างที่ลดลง เส้นสีส้มคือปริมาณนม และ Milk oil ที่ลูกกระต่ายกัน และสีเขียวคือปริมาณอาหารที่ลูกกระต่ายกิน
รูปที่ 2 แสดงปริมาณอาหารที่กระต่ายกินในช่วงแรกเกิดจนอายุ 8 สัปดาห์ พร้อมกันแสดงระดับความเป็นกรดด่างในกระเพาะอาหาร (ดัดแปลงมาจากSmith, 1966)


          สุดท้ายนี้ก่อนจะเครียดกันเกินไป ผมขอเล่าประวัติแม่และลูกกระต่ายที่เอารูปมาลงหน่อยครับ เรื่องมีอยู่ว่าผมอยู่บ้านวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ผมน่าจะเรียนอยู่ปี 3 ผมได้รับโทรศัพท์จากรุ่นน้องที่เป็นเวรดูแลกระต่ายครับ น้องบอกว่ามีคนเอากระต่ายมาให้ช่วยที่ชมรม บอกว่าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก กินลูกกระต่ายไปแล้วด้วย 1 ตัวให้ช่วยหน่อย ผมก็บอกว่าผมจะพยายามช่วยครับ ก็เลยบอกให้เอากระต่ายไว้ที่ชมรมเดี๋ยวผมเข้าไปดูครับ ผมก็รีบขับรถจากบ้านผมไปที่ชมรม ก็พบว่ามีคราบเลือดติดอยู่ที่เท้าแม่กระต่าย (ใครเห็นก็คิดว่ากระทืบลูกตัวเองตาย ผมก็คิดงั้นแหล่ะครับ แต่พอมองในแง่ดีอาจจะเป็นรกที่เปื้อนเลือดก็ได้) จากนั้นผมก็ดูลูกกระต่ายคาดว่าจะออกวันนี้เป็นคอกแรก (จากข้อมูลที่สอบถาม) แต่ผมก็เจอกระต่ายตัวใหม่อีกตัวในกรงตอนหลังผมถามน้องว่าเป็นพ่อ ผมก็งงว่าจะเอาพ่อมาทำไม ก็เลยคิดว่าเค้าคงอยากให้ครอบครัวกระต่ายอบอุ่นมั้ง ผมก็ไม่ใส่ใจอะไร จากนั้นผมก็นำแม่และลูกกระต่ายกลับบ้านทันทีครับ เนื่องจากต้องดูแลอย่างไกลชิดปล่อยอยู่ที่ชมรมไม่ได้ จุดนี้แหล่ะครับผมได้ถามพี่หมอ อาจารย์ และศึกษาเองในการช่วยเหลือลูกกระต่ายในกรณีแม่มีนมครั้งแรก ผมเลี้ยงไปได้ประมาณเดือนครึ่งคาดว่ารอดแน่ ก็เลยบอกว่าให้เจ้าของมารับได้ น้องบอกว่าติดต่อไปได้ จ๊าก สรุปมาทิ้งกระต่ายให้เรารึเนี่ย ปวดหัวจริง เหมือนตอนข่าวไข้หวัดกระต่ายดัง ผมก็พบกล่องกระดาษพร้องกระต่ายสามสี่ตัว พร้อมเขียนว่า ขอให้ผู้ใจดีอุปการะด้วย เราก็อยากเป็นคนใจดีไงก็เลี้ยงกันไปอีก ผมก็น่าคิดให้ดีก่อน ชมรมกระต่ายตั้งอยู่ข้างโรงพยาบาลสัตว์ ทำไม่มีปัญหาไม่ไปหาหมอมาหาชมรมทำไม หรือคิดว่าชมรมคือโรงพยาบาล เฮ้อ ช่างมันเหอะ มองไปอนาคตแล้วกัน จากนั้นก็หาคนใจดีจริงๆรับเลี้ยงลูกไปครับ 
____________________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น