หัวข้อ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Talk:การจัดการฟาร์ม4





Talk: การจัดการฟาร์ม 4 (ตัวอย่าง ตอนที่1)


ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการนำข้อมูลที่เก็บในฟาร์มมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ ข้อมูลที่ครบถ้วนย่อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และความถูกต้องของข้อมูลก็มีความสำคัญตามมา เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลในองค์รวมย่อมเกิดมาจากข้อมูลแต่ละอันมารวมกันดังนั้นข้อมูลทุกข้อมูลที่บันทึกลงไปย่อมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นตัวอย่างเป็นข้อมูลประจำปี 2551 ที่เก็บมาจากฟาร์มแห่งหนึ่งในประเทศไทย 

ตารางที่ 1 แสดงค่าดัชนีหลักของฟาร์มแห่งหนึ่ง               
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีของฟาร์ม
ค่าดัชนีมาตรฐาน
จำนวนลูก/แม่/ปี


8.78
35

ลูกหย่านม/คอก

5.49±2.5
7


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
6.4±2.14
8


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
14.18%
<5%

จำนวนคอก/แม่/ปี

1.6
5


ขนาดฝูงแม่
229
แล้วแต่ขนาดฟาร์ม


อัตราผสมติด
57.14%
90%

                จากตัวเลขดัชนีที่ออกมาในตารางที่ 1 เมื่อเทียบเลขที่ได้กับความรู้สึก หรือเทียบกับดัชนีมาตรฐานผมทราบว่าทุกคนต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าฟาร์มนี้ย่อมมีปัญหาอยู่แน่นอน ขนาดแม่มีร่วม 200 ตัวแต่ผลผลิตค่อนข้างต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยได้ถามถึงค่าดัชนีต่างๆตามความรู้สึกของเจ้าของฟาร์ม ซึ่งได้ผลเปรียบเทียบระหว่างข้อเท็จจริงกับความรู้สึกได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบดัชนีหลักจากการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์
ชื่อดัชนี
ค่าดัชนีจากสัมภาษณ์
ค่าดัชนีจากการวิเคราะห์
จำนวนลูก/แม่/ปี


ประมาณ 24-35
8.78

ลูกหย่านม/คอก

ประมาณ 6-7
5.49±2.5


จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด
ประมาณ 8-10
6.4±2.14


จำนวนลูกตายก่อนหย่า
ประมาณ 10%
14.18%

จำนวนคอก/แม่/ปี

ประมาณ 4-5
1.6


ขนาดฝูงแม่
ประมาณ 200
229


อัตราผสมติด
ประมาณ 60%
57.14%

                จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่าความรู้สึก กับความจริงนั้นมีความแตกต่างกันมากถ้าเราไม่มีการเก็บข้อมูลที่ดี และการวิเคราะห์ที่ถูกต้องย่อมไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เลย การวิเคราะห์ที่แก้ปัญหาผมจะดูเป็นขั้นลำดับ เพื่อหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เริ่มต้นด้วย ลูก/แม่/ปี ของฟาร์มมีแค่ 8 ทั้งที่ของมาตฐานอยู่ที่ 35 ซึ่งต่างกันอยู่เกือบ 5 เท่า ดัชนีนี้เกิดขึ้นจากดัชนีสองตัวคือ ลูกหย่านม/คอก และจำนวนคอก/แม่/ปี ซึ่งทั้งสองค่าก็มีปัญหาเหมือนกัน แสดงว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นทั้งสองทาง เรามาดูทางแรกกันก่อนคือทาง ลูกหย่านม/คอก ซึ่งเกิดมาจาก จำนวนลูกคลอด ณ วันคลอด และจำนวนลูกตายก่อนหย่า การเพิ่มจำนวนลูกคลอด ณ วันคลอดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และแก้ไขได้ยากรวมทั้งเลขในฟาร์มนี้ก็ไม่ถือว่าต่ำมาก แต่ร้อยละการตายของลูกก่อนหย่านั้นมาถึง 14 % ถ้าลดค่านี้ลงหรือประมาณ 2% ได้จะทำให้เราเหลือลูกกระต่ายต่อคอกประมาณ 6 ตัวซึ่งเข้าใกล้ค่ามาตรฐานมากขึ้น จากตรงนี้ผมก็ต้องเข้าไปสำรวจฟาร์มว่าการจัดการการคลอด และลูกก่อนหย่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อหาปัญหา และนำมาแก้ไขต่อไป
                ในตอนหน้าเราจะมาวิเคราะห์กันต่อครับ
__________________________________________________________________________________________________
ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างไรก็ตามทีมงานไม่สามารถที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ บทความในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักวิชาการ และมิได้เป็นการชี้นำ การตัดสินใจใดๆของผู้อ่าน ไม่ว่าเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใดกับทีมงานไม่ว่ากรณีใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น